ความสอดคล้องระหว่า "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)" และ "การนำประเทศไทยไปสู่ความเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Thailand)"
Main Article Content
Abstract
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economics) เป็นรูปแบบการดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจที่รัฐต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่า (Value Creation) ของสินค้าหรือการบริการต่างๆ ของธุรกิจที่มีศักยภาพพอที่จะทำการผลิตภัณฑ์ในลักษณะที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Creative Product) โดยรัฐบาลไทยได้นำแนวคิดดังกล่าวเข้ามาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการทางด้านเศรษฐกิจ โดยมีการระบุอย่างชัดเจนไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (2550-2554) และมีการกำหนดโครงการ “Creative Thailand: สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center) และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (The Office of Knowledge Management and Development) ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีหน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน), 2553) โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทในการกำหนดกรอบการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในแผนพื้นฟูเศรษฐกิจในระยะที่ 2: SP2
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระราชทาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) แก่ปวงชนชาวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่สู่สาธารณะชนเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป ถึงแม้ว่าทั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะมีความแตกต่างกันในเชิงกระบวนการ แต่จากการวิเคราะห์ข้อเสนอของ ดร. ปรเมธี วิมลศิริ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในเรื่อง 4 องค์ประกอบที่เป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบต่างๆ คือ Creative Generation, Creative Industry, Creative Space และ Creative Cooperation เมื่อมาศึกษาโดยละเอียดแล้วกลับพบว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องในแง่ของการสร้างรากฐานให้แก่ทั้ง 4 องค์ประกอบอย่างมั่นคงและกระตุ้นในเกิดความสำเร็จในการดำเนินการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาลอย่างยั่งยืน จึงสามารถอนุมานได้ว่าการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้ง การบริหารงานระดับองค์กร และการบริหาประเทศ
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.