การศึกษาระบบบัญชีของคริสตจักรท้องถิ่นสังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง

Main Article Content

พิกุล พงษ์กลาง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะระบบบัญชีและปัญหาของผู้ทำบัญชีในการปฏิบัติตามระบบบัญชีของคริสตจักรท้องถิ่น  สังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย  ในเขตจังหวัดเชียงใหม่  ลำพูน และลำปาง  ศึกษาจากประชากรจำนวน 173 ราย และได้รับการตอบกลับจำนวน 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 71.1 เครื่องมือที่ใช้ในกรเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบน  มาตรฐาน และการทดสอบของครัสคาล-วอลลิส

            ผลการวิจัยพบว่าระบบบัญชีของคริสตจักรท้องถิ่น  จำแนกได้ดังนี้ 1) ด้านเอกสารเกี่ยวกับการบันทึกบัญชี คริสตจักรมีหลักฐานประกอบการรับและจ่ายเงินทุกชนิด  โดยมีการระบุชื่อของเอกสาร  ชื่อและที่อยู่ของคริสตจักรรวมทั้งวันที่เกิดรายการไว้ในเอกสาร 2) ด้านการปฏิบัติทางการบัญชี  คริสตจักรมีการบันทึกบัญชีทุกครั้งที่เกิดรายการและเอกสารทุกชนิดมีการลงนามของผู้ที่รับผิดชอบในรายการนั้นเพื่อเป็นหลักฐาน 3) ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน คริสตจักรมีสถานที่เก็บสินทรัพย์ มีหลักฐานและผู้รับผิดชอบในการอนุมัติเกี่ยวกับการยืมสินทรัพย์ 4) ด้านการควบคุมภายใน คริสตจักรได้กำหนดโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับลักษณะการกำเนินงานของคริสตจักร  มีระบบและกลไกเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ

            ส่วนปัญหาของผู้ทำบัญชีในการปฏิบัติตามระบบบัญชีของคริสตจักรท้องถิ่น พบว่า ผู้ทำบัญชีมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง จำแนกได้ดังนี้ 1) ด้านเอกสารในการบันทึกบัญชี มีปัญหาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติกรณีเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหาย และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับจัดทำบัญชี 2) ด้านการปฏิบัติทางการบัญชี มีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินของคริสตจักร  การแก้ไขรายการเมื่อบันทึกบัญชีผิดพลาด 3) ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน มีปัญหาเกี่ยวกับการตรวจนับและหลักฐานประกอบการยืมสินทรัพย์ 4) ด้านการควบคุมภายใน มีปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดวงเงินสดย่อย การจัดทำงบประมาณประจำปี การชี้แจงและตรวจสอบรายงานทางการเงิน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน

            This research has aimed to study an accounting system and problems on practice in  the local church’s accounting system of the church accounting practitioners under the Church of Christ in Thailand, who work in Chiang Mai, Lamphun and Lampang Provinces. The Population is 173 and the resultant population was 123 yielding a usable response rate of 71.1%. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed by using the statistical program and the descriptive statistics, such as frequency, percentage, mean and standard deviation, as well as Kruskal Wallis H.

            This study found that: 1) In documents and records perspective, the local churches provided adequate evidence of recording receipt and payment. All documents are determined names of documents, as if a given name and address of the churches, as well as date on which transaction occurred. 2) In the practices perspective, it can be said that all transactions were recoded in the journal of account. All invoices were approved by an authorized person before payment. 3) In the equipment and tools perspective, equipment and tools were stored in the suitable place in the church. The asset borrowing was approved by an authorized person, together with evidence relating to the borrowing. 4) In the internal control perspective, the operations of the church are in accordance with the organizational structure of the churches and the local church has systems and mechanisms with effective internal control.

            For problems on practice in the local church’s accounting systems of the church accounting practitioners this study found that the church accounting practitioners faced problems at the moderate level in the following areas: 1) In document and records perspective: the practices in case of lost some perspective : knowledge and understanding in the preparation of accounting and financial reporting of the church and adjusting journal entry; 3) In equipment and tools used in operation perspective : physical verification and evidence relating to the borrowing; 4) In internal control perspective: rang of petty cash; annual budget; audit report of financial statement and monitoring and evaluation performance.

Article Details

Section
Research Articles