การออกแบบสตอรีบอร์ดอย่างง่ายเพื่อใช้กับการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบชาญฉลาด
Main Article Content
Abstract
การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบชาญฉลาด เพื่อใช้ในการเรียนการสอนในระบบการศึกษาของไทยมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับการใช้สื่อเทคโนโลยีทางด้านการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้ว การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำเป็นต้องมีการสร้างสตอรีบอร์ด เพื่อเป็นการเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่ดำเนินไปของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละกรอบ แต่ละหน้าจอของคอมพิวเตอร์ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูด สตอรีบอร์ดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบ อย่างไรก็ตามการออกแบบสตอรีบอร์ดในปัจจุบันไม่ได้มีรูปแบบที่จะใช้เขียนเพื่อที่จะนำไปสู่การออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบชาญฉลาด ทำให้ขาดเครื่องมือเพื่อสร้างบทเรียนสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบชาญฉลาด และส่งผลต่อการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบชาญฉลาดในการเรียนการสอน การออกแบบสตอรีบอร์ดเพื่อใช้ในการออกแบบคอมพิวเตอร์ – ช่วยสอนอย่างง่ายและมีประสิทธิภาพ จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบชาญฉลาด การออกแบบโดยใช้เครื่องมือการออกแบบสตอรีบอร์ดโดยใช้รูแบบที่ถูกวางไว้อย่างมีความสัมพันธ์กันของเนื้อหา ระดับความยากของเนื้อหา ลำดับการดำเนินเรื่องของบทเรียนและองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำมาใส่เรื่องราวไว้ในสตอรีบอร์ดอย่างง่าย ซึ่งจะช่วยทำให้การออกแบบสตอรีบอร์ดเพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบชาญฉลาดทำได้ง่ายขึ้น และเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีปฏิสัมพันธ์และรองรับความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
The constructions of Intelligent Computer Assistance-Instruction (iCAI) are practically less used in Thailand while comparing with developed countries. The design of iCAI are required to create storyboards for the purpose of sequences of stories within computer-base lessons. The storyboard include massages, pictures, animations, sound, voice, video, etc. However the existing storyboard design techniques are applicable with the development of iCAI. The proposed storyboard design technique will assist to develop iCAI mom efficiently. Moreover, the purposed technique will also cope with problem such as the relationship between lesson contents, the difficultly of contents, the sequence of storyboard, and the management of individual differences.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.