แนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ในเขตภาคเหนือในประเทศไทย

Main Article Content

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร
ภาคภูมิ ภัควิวาส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตภาคเหนือในประเทศไทย  2) แนวทางการพัฒนากิจกรรมตามความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตภาคเหนือในประเทศไทย เก็บรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตภาคเหนือของประเทศไทย 9 จังหวัด เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง  จำนวน 20 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ความเหมาะสมพอเพียงในการเลือกทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในภาพรวม อยู่ในระดับดีปานกลาง (\overline{X}= 66.20, S.D. = 0.63) โดยแยกตามรายด้านได้แก่ ด้านการรู้จักตน (\overline{X}= 22.50, S.D. = 0.88) ด้านการมีเหตุมีผล (\overline{X}= 20.25, S.D. = 0.58) และด้านการมีภูมิคุ้มกัน (\overline{X}= 23.45, S.D. = 0.43) ซึ่งกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่องค์กรเลือกสามารถทำได้อย่างมีกลยุทธ์ แต่ต้องขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้เข้มแข็ง ส่วนแนวทางการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตภาคเหนือในประเทศไทย เพื่อความสำเร็จในความรับผิดชอบต่อสังคม ควรมุ่งในประเด็นดังนี้ 1) การสร้างจิตสำนึกและให้ความตระหนักถึงความสำคัญของการรับผิดชอบต่อสังคมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับทุกๆ ฝ่ายทั้งภายนอกและภายในองค์การ 2) การมุ่งตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาลที่สามารถเกื้อหนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ตั้งมั่นตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) การมุ่งสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กับการดำเนินธุรกิจในทุกกระบวนการของธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนร่วมกันกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม และ 4) การประเมินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม และการปรับปรุงกิจกรรมให้เข้ากับบริบทการดำเนินงานของธุรกิจเพื่อให้เกิดการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง เกิดความยั่งยืนในความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ

This research aims to study (1) Levels of CSR activities in SMEs (2) Guideline for CSR activities development of SMEs in Northern Thailand. The data collecting method was questionnaires and interviews SME’s entrepreneurs from 9 provinces of Northern Thailand. 20 samples are chosen by purposive sampling. From the study, it is found out that adequacy in selecting CSR activities of the company in overall means is in moderate level (\overline{X}= 66.20, S.D. = 0.63). It can be separated into each aspects which are self-awareness (\overline{X}= 22.50, S.D. = 0.88), reasonability (\overline{X}= 20.25, S.D. = 0.58) and competitive immunity (\overline{X}= 23.45, S.D. = 0.43). The CSR activities that corporations chose can be done in strategically way, be able to do it right away, but still need some advices from experts to strengthen themselves. The guideline to develop CSR activities of SMEs in Northern Thailand to achieve success in CSR should focus on 1) create accountability and awareness on the importance of CSR for all stakeholders both inside and outside the organization 2) focus on virtue, moral, ethics and governance principles which can support all stakeholder bases on the sufficiency economy philosophy 3) focus on social responsibility together with business operation in all business process for the sustainability of both community and the environment  and 4) evaluate and improve CSR activity which appropriate to the context of business operations for adapt and change to achieve sustainability CSR of the corporation.

Article Details

Section
Research Articles