สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับผู้ประกอบการ
Main Article Content
Abstract
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สามารถดำเนินการได้ที่สำนักงานพาณิชย์ทุกจังหวัดและกรมทรัพย์สินทางปัญญา สินค้าที่จะนำมาขึ้นทะเบียนควรพิจารณาเงื่อนไข 2 ด้าน คือ เงื่อนไขของตัวสินค้า และเงื่อนไขของผู้ขอขึ้นทะเบียน โดยขั้นตอนของการขอขึ้นทะเบียนจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และเมื่อสินค้านั้นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว การคุ้มครองเริ่มตั้งแต่วันที่ยื่นขอขึ้นทะเบียน โดยใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นผู้ออกให้ และมีผลคุ้มครองตลอดไป จนกว่าสภาพแวดล้อมในแหล่งภูมิศาสตร์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงจนส่งผลให้สินค้ามีคุณสมบัติไม่เหมือนเดิม หรือกระบวนการขอขึ้นทะเบียนไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ปัจจุบันมีสินค้าที่ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้วอย่างน้อย 34 รายการ ซึ่งแหล่งกำเนิดของสินค้ากระจายอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้น ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถนำเอาสินค้าในท้องถิ่นมาเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์และขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างเอกลักษณ์ให้สินค้า เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน สร้างความมั่นคงทางด้านทรัพยากรการผลิต ยกระดับความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และทำให้ชุมชนได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.