คาร์บอนเครดิตกับการลดภาวะโลกร้อน
Main Article Content
Abstract
การประกอบกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้การสูญเสียภาวะสมดุลของระบบนิเวศ ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาตินานัปการ โดยเฉพาะในภาคพลังงานที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มากกว่าร้อยละ 60 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง ผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ผลกระทบต่อการเกษตรและแหล่งน้ำ ผลกระทบด้านสุขภาพ การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง เช่น น้ำท่วม พายุรุนแรง ภัยแล้ง ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่ง ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงได้มีการทำอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ดังเช่น พิธีสารเกียวโต เพื่อให้เกิดความร่วมมือเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกมีผลบังคับทางกฎหมายโดยกำหนดให้ภายในปี พ.ศ 2555 การพัฒนากลไกที่สะอาดภายใต้กลไกตามพิธีสารเกียวโต ก่อให้เกิดการซื้อขายกรรมสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ซึ่งนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “คาร์บอนเครดิต” และส่งผลให้เกิดตลาดใหม่ เรียกว่า ตลาดคาร์บอน ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วตามความต้องการของประเทศที่พัฒนาแล้ว สำหรับประเทศไทยมีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบภายใต้โครงการที่อาศัยกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ที่สามารถซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตได้แล้ว รวมทั้งสิ้น 38 โครงการ สามารถผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดแล้ว จำนวน 10 โครงการ และผ่านการขึ้นทะเบียนที่ได้รับใบรับรอง (CERs) ของสหประชาชาติ เพื่อซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ได้จำนวน 2 โครงการ ใน 10 โครงการที่ผ่านการขึ้นทะเบียนภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น เป็นการผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้จากผลิตภัณฑ์เชิงเกษตร ซึ่งสามารถให้พลังงานทดแทน และเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่เป็นที่น่าพอใจ หากภาครัฐมีการผลักดันและกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน อาจเริ่มจากมาตรการระยะสั้นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการขยายการผลิตคาร์บอนเครดิตให้มีปริมาณมากพอที่จะดึงดูดผู้ซื้อจากต่างประเทศโดยมีภาครัฐเป็นผู้นำหลักในการผลักดันภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการจัดทำโครงการ CDM และการเป็นที่ปรึกษาและให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องภายในประเทศรวมถึงการติดต่อประสานงานกับสถาบันการเงินภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์และเป็นคนกลางให้กับผู้ผลิตในประเทศและผู้ซื้อในต่างประเทศ
Article Details
Section
Academic Articles
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.