บทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนบนในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของการปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย การแสดงบทบาท และแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนบนในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในข่าวหน้าหนึ่ง บทบรรณาธิการ และคอลัมน์บุคลาทรรศน์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนบน จำนวน 12 ชื่อฉบับ ได้แก่ เชียงรายนิวส์ นครเชียงราย ไทยนิวส์ เชียงใหม่นิวส์ ก้องสยาม เหนือน่าน แพร่ข่าวเสียงแพร่ คนเมืองเหนือ ลานนาโพสต์ พะเยารัฐ และเมืองพะเยา ที่ถูกนำเสนอระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 รวม 526 ฉบับ และการสัมภาษณ์บรรณาธิการ นักวิชาการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนองค์กรภาคประชาชน
ผลการวิจัยพบว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนบนไม่มีนโยบายในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับการแสดงบทบาทในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น พบว่าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนบนยังไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอต่อการแสดงบทบาทด้านนี้ได้อย่างสมบูรณ์ตามที่ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ของสื่อมวลชนคาดหวัง อันเนื่องมาจากมีปัจจัยขัดขวางหลายประการที่บั่นทอนความเข้มแข็งของหนังสือพิมพ์ ซึ่งแม้จะปรากฏตัวเลขในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของการปกครองส่วนท้องถิ่นในเนื้อหาแต่ละประเภทที่ศึกษา แต่เมื่อดูภาพรวมของประเด็นและเนื้อหาที่ถูกนำเสนอ พบว่าเป็นมุมมองของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่าประชาชนในท้องถิ่น มีทิศทางบวกที่สนับสนุนเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่าโจมตี เป็นการรายงานข้อมูลทั่วไปมาเจาะลึก และขาดความต่อเนื่องในการนำเสนอ ส่วนแนวทางการพัฒนาศักยภาพของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนบนนั้นประเด็นหลักที่ส่วนใหญ่เสนอไว้คือ การตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ยึดมั่นในอุดมการณ์และมีจิตสำนึกรักในถิ่นฐานอีกประการหนึ่งคือ การพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลและการปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนการปรับวิธีคิดในการทำงานให้มีความเป็นมืออาชีพ
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.