สภาพการณ์ท่องเที่ยวและกลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันไปทั่วโลก โดยมีศักยภาพทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และหัตถกรรมที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์รวมของจังหวัด มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-2551 ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 มาจากคนไทยที่เที่ยวในประเทศในขณะเดียวกันจังหวัดเชียงใหม่ก็เกิดปัญหาที่เกิดจากผลกระทบจากการท่องเที่ยวทั้งปัญหาในส่วนของการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบล้านนาไปสู่สังคมเมือง อีกทั้งปัญหามลภาวะทางสังคมและมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นได้จากจำนวนรถบนถนนในเขตเมืองเชียงใหม่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีตึกสูงเพิ่มขึ้นบดบังทัศนียภาพของดอยสุเทพ และโบราณสถาน นอกจากนี้ยังมีปัญหาน้ำเสีย อากาศเสีย ปัญหาโรคเอดส์ และโรคระบาด ที่ส่งผลเสียต่อสังคมและสภาวะแวดล้อม จนส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวลดน้อยลง ดังนั้นศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดเชียงใหม่จึงจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2550 – 2552 โดยมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการรักษาอัตลักษณ์ (identity) ของจังหวัดเชียงใหม่รวมทั้งฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ออกเป็น 6 ด้านด้วยกันคือ 1) ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2) ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) ด้านการท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและดูงาน 4) ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 5) ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 6) ด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.