ผลลัพท์การนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในการปฏิรูประบบราชการของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การศึกษาผลลัพธ์การนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในการปฏิรูประบบราชการของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนการบริหารราชการของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาผลของการปฏิรูประบบการบริหารราชการของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเชียงใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2550 3) เพื่ออธิบายผลกระทบจากการนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในการปฏิรูประบบราชการของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเอกสารในส่วนที่เป็นแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการวิจัยภาคสนาม ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในหน่วยงานภาครัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 10 หน่วยงาน ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้
1) หน่วยงานราชการตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการบริหารงานภายหลังนโยบายปฏิรูประบบราชการมีผลบังคับใช้ นับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 แต่ขณะเดียวกันหน่วยงานราชการทั้งหมดยังคงอำนาจหน้าที่ไว้ดังเดิม มีผลทำให้บางหน่วยงานราชการประสบปัญหาในการปฏิบัติราชการอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิธีการบริหารงานดังกล่าว
2) ผลของการปฏิรูประบบการบริหารราชการของหน่วงงานราชการที่แบ่งกลุ่มตัวอย่าง พบว่า หน่วยงานราชการทั้งหมดยอมรับต่อแนวทางการปฏิรูประบบราชการที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
3) ผลการศึกษาพบว่าแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ส่งผลกระทบทางบวกแก่ผลปฏิบัติงานราชการโดยรวม ในส่วนประชาชนยังมีความเห็นด้วยต่อการนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาปรับใช้ว่าส่งผลดีขึ้นต่อการปฏิบัติงานราชการในทุกด้านเช่นกัน แต่ขณะเดียวกันกลับพบว่า แนวคิดดังกล่าวมีผลกระทบทางลบต่อโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะทำให้ประชาชนมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการน้อยในด้านการมีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่ให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ ทั้งที่ประชาชนมีความเต็มใจและกระตือรือร้นที่จะร่วมพัฒนาระบบราชาการไทยในระดับมาก
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.