การประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภาษาถิ่นจังหวัดระยอง
Main Article Content
Abstract
บทความนี้นำเสนอผลการประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ภาษาถิ่นจังหวัดระยอง ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีความสมบูรณ์เหมาะสมกับผู้ใช้ ซึ่งการประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะบ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างบทเรียนที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีกับบทเรียนที่ไม่ได้ออกแบบอย่างเป็นระบบ เนื่องจากการประเมินจะช่วยขยายความชัดเจนในคุณสมบัติและองค์ประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ผู้ประเมินได้พิจารณาถึงปัจจัยหลัก 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านการจัดการ และด้านผลที่มีต่อผู้ใช้ นอกจากนี้ยังได้พิจารณาถึงลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ (4 I’s) ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งได้แก่ 1. สารสนเทศ (Information) 2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) 3. การโต้ตอบ (Interaction) และ 4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) จากการประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภาษาถิ่นจังหวัดระยอง ผู้ประเมินพบข้อเด่น คือ 1) การนำเสนอเนื้อหาชัดเจน ประกอบด้วยหมวดอักษร หมวดคำ และความหมาย 2) เรียบเรียงเนื้อหาเป็นระบบ เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประโยคและสำเนียงระยอง และ 3) สามารถเลือกเรียงเนื้อหาได้ตามต้องการ และสามารถย้อนกลับได้เมื่อไม่เข้าใจ ส่วนข้อที่ควรปรับปรุง คือ 1) การออกแบบหน้าจอยังไม่น่าสนใจ อีกทั้งไม่มีภาพประกอบและตัวอย่างคำในประโยค 2) ไม่มีแบบทดสอบ แบบฝึกหัด หรือเกมที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน และ 3) ไม่มีการบันทึกเสียงของผู้เรียนเพื่อเปรียบเทียบกับเสียงต้นแบบ
Article Details
Section
Academic Articles
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.