รูปแบบการเสริมสร้างความเข็มแข็งแก่เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การศึกษาเรื่องรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายและรูปแบบการแก้ปัญหาของรัฐที่มีต่อเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมก่อนและหลังเปิดเสรีการค้าอาเซียน-จีน วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่หลังเปิดเสรีการค้าอาเซียน-จีน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ด้วยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การจัดทำเวทีสนทนากลุ่ม (focus group) และการตรวจทานงานวิจัย (verification)
ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมในจังหวัดเชียงใหม่หลังเปิดเสรีการค้าอาเซียน-จีน คือ PMCAT Model ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาใน 5 มิติ ดังนี้
P=Public Sector Dimension (มิติภาครัฐ) หมายถึง มิติที่พิจารณาถึงภาครัฐใน 2 แนวทางหลัก ได้แก่การมีนโยบายที่ชัดเจน ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งการปรับปรุงมุมมองและทัศนคติของภาครัฐที่มีต่อสถานภาพกระเทียมและเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม และการเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมและผู้มีส่วนได้เสียอื่นในทุกขั้นตอนของวงจรนโยบาย
M=Middleman Dimension (มิติพ่อค้าคนกลาง) หมายถึง มิติที่พิจารณาถึงพ่อค้าคนกลางว่าด้วยแนวทางการสร้างจิตสาธารณะให้เกิดขึ้นแก่พ่อค้าคนกลาง
C=Consumer Dimension (มิติผู้บริโภค) หมายถึง มิติที่พิจารณาถึงผู้บริโภครายย่อยว่าด้วยแนวทางการเพิ่มการรับรู้ให้กับผู้บริโภค เพื่อนำไปสู่การมีทัศนคติและค่านิยมต่อกระเทียมไทยในเชิงบวก
A=Agriculturist Dimension (มิติเกษตรกร) หมายถึง มิติที่พิจารณาถึงเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมใน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ การสร้างให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียมที่เข้มแข็ง การสร้างองค์ความรู้ว่าด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำริกับเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม และการสร้างกระบวนการเรียนรู้กับเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม
T=Transformer Dimension (มิติผู้แปรรูป) หมายถึง มิติที่พิจารณาถึงผู้แปรรูปว่าด้วยแนวทางการสร้างแรงจูงใจผู้แปรรูปให้เพิ่มสัดส่วนในการรับซื้อกระเทียมไทย
The purpose of this research is to analyze public policy and state’s resolution model related to garlic agriculturist before and after the ASEN-China Free Trade Agreement, to analyze problems and obstacles which have affected strong reinforcement to garlic agriculturist in Chiang Mai province after ASEAN-China Free trade Agreement, and to present model for strengthening the profession of garlic agriculturist in Chiang Mai province after ASEAN-China Free Trade Agreement. Documentary studies, in-depth interview, focus group, and verification are the methods used in this qualitative research.
The research indicates that to achieve the given objective, the appropriate model for strong reinforcement to garlic agriculturist in Chiang Mai province after ASEAN-China Free Trade Agreement is the key factor of success. The researcher introduced “PMCAT Model” with the interpretation as follows:
P=Public Sector Dimension: Dimension which has been considered to public sector in two main approaches as obvious policy making with earnest and continuous implementation as well as attitude adjustment of public sector toward garlic agriculturist and emphasis on participation of garlic agriculturist as well as stakeholders in every step of public policy cycle.
M=Middleman Dimension: Dimension which has considered middleman as public mind creation.
C=Consumer Dimension: Dimension which has been considered as perception increase for consumer toward positive attitude and value in Thai garlic.
A=Agriculturist Dimension: Dimension which has been involved with garlic agriculturist in three main approaches as strength creation for garlic agriculturist integration, knowledge creation for garlic agriculturist in philosophy of the “Sufficiency Economy” and “New Theory” of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, and learning process creation for garlic agriculturist.
T=Transformer Dimension: Dimension which has been considered as motivation creation for transformer to increase proportion in Thai garlic trade.Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.