จิตสำนึกสาธารณะและตัวแบบสร้างจิตสำนึกสาธารณะระดับเยาวชนในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

กิตติพงษ์ แดงเสริมสิริ

Abstract

กระแสวัฒนธรรมบริโภคนิยมที่มุ่งเร้าวิถีชีวิตแบบปัจเจกชน นับเป็นวิถีที่นำพาผู้คนออกห่างจากกระแสวัฒนธรรมการคงอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เยาวชนในระดับอดุมศึกษาก็เป็นผลสะท้อนจากการหล่อหลอมของสังคมปัจจุบัน ซึ่งมักมีคำกล่าวกันว่ “เด็กรุ่นใหม่ จะมีการนึกคิดถึงผู้อื่นน้อย หวังเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน คำนึงถึงความสุขสบายส่วนตัว” แนวคิด “จิตสำนึกสาธารณะ” จึงนับเป็นเรื่องสำคัญของวิถีแห่งการอยู่ร่วมกันเพราะสังคมที่มีการเอื้อเฟื้อและแบ่งปันสูง ย่อมจะทำให้เกิดวัฒนธรรมเชิงคุณค่าที่สามารถบ่มหลอมจิตสำนึกคนรุ่นใหม่ไปสู่วัฒนธรรมความดีสาธารณะในระยะยาว ทั้งนี้บทความดังกล่าวจะนำเสนอแนวคิดที่สำคัญ คือ องค์ประกอบของการมีจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งได้แก่ 1) การหล่อหลอม โดยผ่านกลไกการเลี้ยงดูหรือการทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง 2) การเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการสั่งสมจากการเรียนรู้ประจำวัน 3) การจัดการจากสภาพแวดล้อม โดยประเภทของจิตสำนึกสาธารณะ ยังจัดแบ่งเป็น 3.1) ด้านการใช้สิ่งของส่วนรวม ซึ่งแบ่งเป็น สถานที่ส่วนรวม และอุปกรณ์ส่วนรวม 3.2) ด้านกิจกรรมส่วนรวม 3.3) ด้านการตอบแทนเชิงคุณค่าความหมาย การนำเสนอรูปแบบจิตสำนึกสาธารณะที่สามารถบ่มหลอมเยาวชนไปสู่แนวทางสำคัญได้ คือ 1) ตัวแบบทิศ 6 เชิงเปรียบเทียบ 2) ตัวแบบรังผึ้ง 3) ตัวแบบความคิดเชื่อมโยง 4) ตัวแบบแผนภูมิต้นไม้ (Tree diagram)  โดยท้ายที่สุด ข้อจำกัดของการมีจิตสำนึกสาธารณะ คือ สื่อเร้าปัจเจกบุคคล การรับรู้จากสังคมหรือองค์กรแวดล้อม และภูมิต้านทานที่มีอยู่ในตัวเยาวชนในการเลือกรับรู้และปลุกเร้า อย่างไรก็ตามแนวทางการสร้างจิตสำนึกสาธารณะนี้ จะเป็นวิถีที่จะนำพาผู้เกี่ยวข้องไปสู่การสร้างความตระหนัก รวมไปถึงการพัฒนารูปแบบกิจกรรมอันจะส่งผลต่อการสร้างสังคมที่ดีในระยะยาวต่อไป

Article Details

Section
Academic Articles