เว็บเซอร์วิส (Web Service) กับ เว็บแอบพลิเคชั่น (Web Application) ความเหมือนที่แตกต่าง
Main Article Content
Abstract
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าเรากำลังอยู่ในยุคสารสนเทศซึ่งอินเทอร์เน็ตคือตัวแทนหนึ่งที่ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้นทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะคนในเมืองหลวงหรือหัวเมืองใหญ่ๆ ที่มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานเช่น ระบบการสื่อสาร โทรศัพท์สาธารณะในประเทศไทยก็เช่นเดียวกันเดิมการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตจะจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะด้านการศึกษาและการวิจัยในสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยผู้ใช้งาน คือ คณาจารย์ นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา ซึ่งเป็นการใช้งานเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล แฟ้มโปรแกรม หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีด้านการสื่อสารก้าวหน้ามากขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีราคาถูกลง สามารถหาซื้อมาใช้งานได้ง่าย รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์สื่อสารขนาดเล็กเช่น มือถือ และผ่านระบบไร้สายทำให้เว็บไซต์ต่างๆ มีการพัฒนาและนำเสนอเนื้อหาและข้อมูลต่างๆ สู่อินเทอร์เน็ตมากขึ้น
จากปัจจัยความต้องการข้อมูลข่าวสารรวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตได้ง่ายยิ่งขึ้นผ่านระบบไร้สายสาธารณะต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาจากเดิมที่ผู้คนรับรู้ข่าวสารผ่านเว็บไซต์โดยการอ่านข้อมูลเพียงด้านเดียวต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถโต้ตอบ ค้นหา และสร้างเงื่อนไขการเรียกดูข้อมูลต่างๆ และใช้งานเว็บไซต์ได้ใกล้เคียงกับโปรแกรมใช้งานทั่วไปบนเครื่องได้โดยที่ไม่ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่จะเรียกใช้โปรมแกรมผ่านผู้ให้บริการที่เรียกว่า Web Application ซึ่งทำให้ผู้คนสามารถใช้โปรแกรมได้หลากหลายและนักพัฒนาโปรแกรมก็สามารถดูแล ปรับปรุง แก้ไขระบบได้ง่ายดายและรวดเร็วยิ่งขึ้นส่งผลให้มีการพัฒนาโปรแกรมใช้งานในหน่วยงาน และ องค์กรต่างๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบ Web Application มากขึ้น เช่น การเสียภาษี การทำธุรกรรมการเงิน การซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ต การจองตั๋วเครื่องบินฯลฯ ทำให้อินเทอร์เน็ตและ Web Application ได้เข้ามาผูกพันกับชีวิตประจำวันและมีแต่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต
เนื่องจากโปรแกรมประเภท Web Application ที่สร้างขึ้นมานั้นมาจากพื้นฐานที่แตกต่างกันทั้งในด้านโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมทำให้โปรแกรมที่ไม่ได้พัฒนาจากพื้นฐานเดียวกันไม่สามารถเรียกใช้ความสามารถหรือ Function ต่างๆ จากอีกโปรแกรมหนึ่งได้ เช่น ต้องการสร้างโปรแกรมให้สามารถเรียกดูข้อมูลหุ้นของบริษัท โดยการกรอกรหัสบริษัทและสามารถแสดงข้อมูลต่างๆ ได้จากหน้าเว็บไซต์ของเราทันที โดยนักพัฒนาต้องทำการติดต่อขออนุญาตดึงข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ยากเพราะเหตุผลเรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงมีการคิดระบบที่เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรมโดยไม่ยึดติดกับระบบใด ระบบหนึ่ง และสามารถสร้าง Function ต่างๆ โดยอนุญาตให้ผู้พัฒนารายอื่นสามารถเรียกใช้ความสามารถของ Function ที่สร้างขึ้นมาได้ โดยเราเรียกระบบนี้ว่า การให้บริการผ่านเว็บไซต์ หรือ Web Service
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.