ผลกระทบระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศกับความเครียดของสุขภาพชีวิตเมืองกรุง
Main Article Content
Abstract
เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) เราเริ่มเข้าสู่ระบบสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและทันสมัย มีการใช้เครื่องจักร เครื่องทุ่นแรง เครื่องจักรอัตโนมัติ มีอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารง่ายขึ้น มีผลผลิตที่ดี สะดวก และรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยการบริหารจัดการภายในองค์กรและการตัดสินใจของผู้บริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นทั้งอาวุธใช้ต่อสู้กับคู่แข่งขององค์กร ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารในการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังเป็นเครื่องมือในการหาโอกาสเพื่อสร้างผลประโยชน์ต่อองค์กร
การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดเครือข่าย การแข่งขันที่รุนแรง วัฒนธรรมโลกเปลี่ยนแปลง ผู้ด้อยโอกาสเพิ่มขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อม และความเครียด และสังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง ด้านเศรษฐกิจ : การแข่งขันทางธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาคบริการ การขยายตัว มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ใช้แรงงานฝีมือเพิ่มขึ้น ช่องว่างทางเศรษฐกิจมากขึ้น ด้านสังคม : สังคมเมืองเพิ่มขึ้น สังคมตื่นตัวเรื่องการเรียนรู้ สังคมตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาไทย สังคมเรียกร้องสิทธิตามรัฐธรรมนูญมากขึ้น สังคมมีการขัดแย้งด้านวิถีชีวิตและคุณค่ามากขึ้น ช่วงว่างทางสังคมมากขึ้น
ผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก่อให้เกิดความเครียดต่อสุขภาพ ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน ชนิดความเครียดที่เกิดขึ้นจากผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ เป็นความเครียดชนิด Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่าง เช่น ความเครียดเรื้อรัง ความเครียดที่ทำงาน ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นต้น อาการเครียดมากและแสดงออกทางร่างกายคือ อ่อนแรงไม่อยากทำอะไร มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ วิตกกังวล มีปัญหาเรื่องการนอน ไม่มีความสุขกับชีวิต เป็นโรคซึมเศร้า โรคทางเดินอาหาร โรคปวดศีรษะไมเกรน โรค ปวดหลัง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ เป็นต้น
สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางใจสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ผลกระทบทางร่างกาย และผลกระทบทางใจArticle Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.