ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสิ่งกระตุ้นทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และศึกษาถึงปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาที่คณะบริหารธุรกิจของนักศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจทั้ง 6 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการบัญชี ภาควิชาการตลาด ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาควิชาการเป็นผู้ประกอบการ ภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยว และภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม จำนวน 172 กลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ นำเสนอผลการวิจัยในรูปตารางแจกแจงความถี่ จำนวน และร้อยละ
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจเข้าศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเป็นผลเนื่องมาจากปัจจัยหลักๆ 2 ปัจจัย ได้แก่ สิ่งกระตุ้นทางการตลาดและปัจจัยทางด้านสังคม โดยสิ่งกระตุ้นทางการตลาด ได้แบ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องออกได้ดังนี้ ปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยทางด้านราคา ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งและการส่งเสริมการตลาด สำหรับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นโดยตรง เหตุผลที่เลือกคือ ชื่อเสียงของคณะและสถาบัน รองลงมาคือ ใกล้ที่พักและหลักสูตรที่ทันสมัย สำหรับปัจจัยทางด้านราคา กลุ่มตัวอย่างให้เหตุผลว่าค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยเอกชนอื่น สำหรับปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบว่า สถานที่ตั้ง มีผลต่อการตัดสินใจ โดยให้เหตุผลว่ามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นอยู่ในจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือ มีการคมนาคมสะดวกและอยู่ใกล้บ้าน สำหรับปัจจัยทางด้านการส่งเสริมการตลาด การโฆษณาจะมีผลต่อการตัดสินใจ โดยกลุ่มตัวอยู่อย่างส่วนใหญ่ รับทราบข่าวสารการรับสมัครจากฝ่ายแนะแนวของมหาวิทยาลัย รองลงมาคือกลุ่มเพื่อนและป้ายโฆษณาของมหาวิทยาลัย
ส่วนปัจจัยทางด้านสังคม การตัดสินใจเข้าศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นมาจากตัวกลุ่มตัวอย่างเอง รองลงมาคือ บิดา/มารดา นอกจากนั้นยังมีปัจจัยทางด้าน อาชีพของบิดา/มารดาและรายได้เฉลี่ยของครอบครัว รวมทั้งความมุ่งหวังของกลุ่มตัวอย่างเองที่มุ่งหวังว่าหลังจากจบการศึกษาต้องการประกอบอาชีพส่วนตัว และรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนประเด็นที่มีผลต่อความสำเร็จการศึกษานั้น ส่วนมากขึ้นนอยู่กับตัวกลุ่มตัวอย่างเอง และบิดา/มารดา การเอาใจใส่ของอาจารย์ที่ปรึกษา และคุณภาพของคณาจารย์ ตลอดจนความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนArticle Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.