องค์ประกอบของปัจจัยการตลาดกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Varaporn Limpremwattana
Chirawut Lomprakhon
Salakanan Hongsawat

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และองค์ประกอบของปัจจัยการตลาดในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้หญิงวัยทำงานจำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยและการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัย (Factor Analysis) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงวัยทำงานที่ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีอายุ 25 - 29 ปี การศึกษาสูงสุดปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (รวมรายได้ทุกประเภท) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาท อาชีพพนักงานเอกชน หรือ รัฐวิสาหกิจ สถานภาพโสด พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า อายุในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกคืออายุต่ำกว่า 20 ปี เหตุผลในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกเนื่องจากอยากลองรสชาติ เหตุผลในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบันเนื่องจากเพื่อนชักชวนให้ดื่ม ความถี่ในดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่า            2  ครั้งต่อสัปดาห์ ปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแต่ละครั้งน้อยกว่า 1 ขวด สถานที่ในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ ร้านอาหารหรือภัตตาคาร บุคคลที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยคือ เพื่อนสนิทหรือเพื่อนร่วมงาน ช่วงเวลาหรือกิจกรรมที่ทำให้มีโอกาสในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ งานเลี้ยงฉลองเนื่องในโอกาสต่างๆ 

          องค์ประกอบของปัจจัยการตลาดในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 การดื่มเพราะของแถมของรางวัลชิงโชค กลุ่มที่ 2 การดื่มเพราะตรายี่ห้อ รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ กลุ่มที่ 3 การดื่มเพราะกลิ่นของเครื่องดื่ม รสชาติของเครื่องดื่ม สีของเครื่องดื่ม กลุ่มที่ 4 การดื่มเพราะแหล่งผลิตของสินค้าและบงบอกสถานะทางสังคม กลุ่มที่ 5 การดื่มเพราะหาดื่มง่ายมีคุณภาพเหมาะสมกับราคา

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

Varaporn Limpremwattana, ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด

คณะบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยสยาม

Chirawut Lomprakhon, สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

คณะบริหารธุรกิจ

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Salakanan Hongsawat, งานเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการงานเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง

References

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ปริ้น.

นิษฐา หรุ่นเกษม. (2556). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

บัณฑิต ศรไพศาล บัณฑิต ศรไพศาล จุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ ศุภพงศ์ อิ่มสรรพางค์ กมลา วัฒนพร โศภิต นาสืบ และ วิภาดา อันล้ำเลิศ. (2550). รายงานสถานการณ์สุราประจำปี 2550. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี การพิมพ์.

ประภัสสร สุวรรณบงกช. (2549). พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ศิริกุล เลากัยกุล . (2548). Emotional marketing. Positioning Magazine. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2557, จาก www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=42377

ศิรินทิพย์ มีสุขอำไพรัสมี. (2545) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มสุราแช่ผลไม้ของสตรีวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2556). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทยปี 2556. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์

สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2554). รายงานการศึกษา: ประชากรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557, จาก http://cpd.bangkok.go.th:90/web2/strategy/DATA54/POP_BKK_S54.pdf

อัญชลี เหมชะญาติ และ ศรีวรรณ ยอดนิล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 8 (1), 115 - 128.