ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อุสรา จินะสุข
มานูนณย์ สุตีคา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม  ในปีการศึกษา 2556  ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม  จำนวน 9 คน  และครูผู้สอน จำนวน 71  คน  รวมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนักเรียน  และปัจจัยด้านครูผู้สอนส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าข้าม  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ส่วนปัจจัยด้านผู้ปกครองส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยมีความสัมพันธ์กันทางบวกทั้ง 3 ปัจจัย  และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น   .353, .310  และ .222 ตามลำดับ  ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้  ส่วนปัจจัยด้านผู้บริหาร  ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลทางการเรียน   การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียน โดยพิจารณาลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)  พบว่า ปัจจัยด้านผู้ปกครองและปัจจัยด้านผู้บริหารไม่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียน  ส่วนปัจจัยด้านนักเรียนและปัจจัยด้านครูผู้สอนสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลทางการเรียนของนักเรียนได้ร้อยละ 18.0 และได้สมการพยากรณ์  ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

\hat{Y}=2.790+0.304(X_{1})+0.444(X_{2})

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

\hat{Z}=0.353(X_{1})+0.243(X_{2})

This research aimed to investigate the factors affecting student learning effectiveness of Tha  Kham  Education  Quality  Development  Network  Group, Chom Thong  District,  Chiang  Mai  Province The sample used in this research was the administrators and the teachers of Ta Kam Education Quality Development Network Group in the academic year 2013 comprising 9 school directors and 71 teachers in Tha Kham  Education  Quality  Development  Network  Group,  Chom Thong  District Chiang  Mai  Province. There were totally 80 people. The instrumentation used in this research was questionnaires. The statistics used for analyzing the data consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient and multiple regression analysis.  The findings revealed that the relationship between the factors of students and those of teachers affecting the students’ learning effectiveness of Tha  Kham  Education  Quality  Development  Network  Group, Chom Thong  District,  Chiang  Mai  Province was statistically significant at the level of .01 whereas the factors of parents affecting the students’ learning effectiveness were statistically significant at the level of .05 showing the positive relationship of all 3 factors.  In addition, the correlation coefficients were .353, .310 and .224 respectively according to the hypothesis as set.  The factors of administrators were not related to the learning effectiveness. Then, the factors affecting the student learning effectiveness were analyzed by considering the priority of input variables into the equation of Stepwise Multiple Regression Analysis.  It revealed that the factors of parents and the factors of administrators could not predict the student learning effectiveness while the factors of students and the factors of teachers could predict the student learning effectiveness at the percentage of 18.0 showing the predictable equations as follows: 

 Predictable equation in form of raw score           

\hat{Y}=2.790+0.304(X_{1})+0.444(X_{2})

Predictable equation in form of standardized score                           

\hat{Z}=0.353(X_{1})+0.243(X_{2})

Article Details

Section
Research Articles