ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ โดยเลือกตัวแปรต้นหาสมการแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการปฏิบัติของประสิทธิผลการจัดการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้ ปัจจัยด้านผู้บริหาร โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า มีการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ปัจจัยด้านครูผู้สอน โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า มีการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แจ้งผลการประเมินให้ผู้เรียนได้รับทราบ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ปัจจัยด้านนักเรียนโดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า มีการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขยันอ่านหนังสือเพื่อทำคะแนนสอบให้สูงขึ้น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการตั้งปัญหาทางวิชาการกับเพื่อนๆ เพื่อค้นหาคำตอบ และปัจจัยด้านผู้ปกครอง โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า มีการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สอบถามพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนรู้จักพัฒนาหาความรู้ด้วยตนเองนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียนส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูผู้สอนทำวิจัยชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาของนักเรียนบางคนหรือบางกลุ่ม สถานศึกษามีระบบการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีทั้งหมดจำนวน 4 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านนักเรียน และปัจจัยด้านผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กันทางบวก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.809 ถึง 0.918 จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการศึกษา โดยพิจารณาลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน พบว่า ทั้ง 4 ปัจจัย สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการศึกษา และได้สมการพยากรณ์ ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Raw score)
= 3.673 + 0.461(X3) + 1.072(X4) + 0.587X2) + 0.248(X1)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standard score)
= 0.202(X3) + 0.428(X4) + 0.265(X2) + 0.105(X1)
This research aimed 1) to investigate the performance levels of factors affecting the educational management effectiveness in the educational extended schools in Prao District, Chiang Mai Province 2) to investigate the factors affecting the effectiveness of educational management in the educational extended schools in Prao District, Chiang Mai Province and 3) to study the factors being able to predict the effectiveness of educational management in the educational extended schools in Prao District, Chiang Mai Province. The sample used in this study consisted of the administrators and the teachers from the educational extended schools in Prao District, Chiang Mai Province in the academic year 2014. The number was 162. The tools used in this research were questionnaires about the factors affecting the effectiveness of educational management in the educational extended schools in Prao District, Chiang Mai Province. The statistics used for analyzing the data including frequency, percentage, standard deviation, correlation coefficient and multiple regression analysis by selecting independent variables to find a stepwise equation. The findings revealed that the factors affecting the performance levels of the educational management effectiveness in the educational extended schools in Prao District, Chiang Mai Province were as follows. According to the factors of administrators, the overall performances were at high level. When considering each item, it showed that the highest mean was to give subordinates an opportunity to take part in expressing their opinions while the lowest mean was that to make use of the evaluation results to improve the curriculum in accordance with the learners’ needs. Regarding the factors of teachers, the overall performances were at high level. When considering each item, it indicated that the highest mean was to inform the learners about the evaluation results as the lowest mean was to arrange the atmosphere as well as the environment for supporting learning. Related to the factors of students, the overall performances were at high level. When considering each item, it was found that the highest mean was to study hard to do better in the examination while the lowest mean was to ask their friends academic questions to seek exact answers. Regarding the factors of parents, the overall performances were at high level. When considering each item, it revealed that the highest mean was to inquire about the learner’ behaviors as the lowest mean was to co-operate with the schools to develop learning sources. According to the relationships among the factors affecting the effectiveness of educational management in the educational extended schools in Prao District, Chiang Mai Province, it revealed that there were totally 4 factors including the factors of administrators, the factors of teachers, the factors of students and the factors of parents. Their relationships were statistically significant at the level of .01 according to the hypothesis as set. The relationships of each factor were positive. The correlation coefficients were from .809 - .918. Then, the factors affecting the effectiveness of educational management were analyzed by considering the priority of variables put into the Stepwise Multiple Regression Analysis. It was found that all 4 factors could be able to predict the effectiveness of educational management in form of the predictable equations as below:
Predictable equation in form of raw score
= 3.673 + 0.461(X3) + 1.072(X4) + 0.587X2) + 0.248(X1)
Predictable equation in form of standard score
= 0.202(X3) + 0.428(X4) + 0.265(X2) + 0.105(X1)
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.