ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยกับการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6

Main Article Content

เกศรินทร์ จุมปา
พัชรีวรรณ กิจมี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์   (1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัย (2) เพื่อศึกษาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ  ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูฝ่ายวิชาการ  และครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 180 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา  เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน   ผลการวิจัยพบว่า  การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยขอโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ทุกด้านมีการปฏิบัติระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย  รองลงมาด้านการประเมินพัฒนาการระดับปฐมวัย   ด้านสื่อการเรียนการสอนระดับปฐมวัย  ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัย และด้านการนิเทศภายในระดับปฐมวัยตามลำดับ  ส่วนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทุกด้านมีการปฏิบัติระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา   แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา  การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง   การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา   ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และการจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษาตามลำดับ   สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต  6  พบว่า  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 0.78)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้   โดยคู่ที่มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงสุด คือ  ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

This research aimed (1) to study the academic affairs administration of preschools (2) to investigate the internal quality assurance of schools  and (3) to study the relationship between the academic affairs administration of preschools and the quality assurance of schools in Chiang Mai Primary Education Service Area Office 6. The samples were 180 school administrators, academic teachers and preschools teachers. The tools used in this study were questionnaires about the academic affairs administration of preschools and the internal quality assurance of schools in form of 5 -rating scaled questionnaires.  The data were analyzed for frequency, mean and standard deviation the relationship  was analyzed by Pearson’s correlation coefficient. The findings were as follows: According to the academic affairs administration of preschools in Chiang Mai Primary Education Service Area Office 6. When considering each aspect, was at a high level ranking from the most to the least were preschools learning experience management, preschool development evaluation, preschool learning and teaching media, preschools curriculum and curriculum administration and preschools  internal supervision, respectively. As for the internal quality assurance of school in Chiang Mai Primary Education Service Area Office 6, it was shown that When considering each aspect, was at a high level ranging from the most to the least including school educational standard specification, schools educational managerial development plan, schools annual report preparation, continuous educational quality development, internal quality evaluation based on school educational standards, implementation according to school educational managerial development plan, schools educational quality monitoring and administrative system management and information in school, respectively. Regarding the relationship between the academic affairs administration of preschools and the quality assurance of schools in Chiang Mai Primary Education Service Area Office 6, it was shown that the overall correlation coefficient was positive at a high level (r =0.78) and statistically significant at the level of .01 according to the hypothesis as set.  In addition, the correlation coefficients with the relationship at the highest level were preschools curriculum and curriculum administration and school educational managerial development plan.

Article Details

Section
Research Articles