ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานระดับปฐมวัยของโรงเรียน ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจิมพัฒนา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของผู้บริหาร ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ตามปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยด้านการสอนและปัจจัยด้านการจัดการอาคารสถานที่ (2) เพื่อศึกษาการบริหารงานระดับปฐมวัย (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานระดับปฐมวัย และ (4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การบริหารงานระดับปฐมวัยของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจิมพัฒนา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจิมพัฒนา อำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2557 และศึกษานิเทศก์ที่ดูแลการจัดการศึกษาปฐมวัยของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจิมพัฒนา อำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 6 จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานระดับปฐมวัยในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจิมพัฒนาอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยด้านการสอน และปัจจัยด้านการจัดการอาคารสถานที่โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีการดำเนินการในระดับมาก ส่วนการบริหารงานระดับปฐมวัยโดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ามีการดำเนินการในระดับมากเช่นกันส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานระดับปฐมวัย พบว่า ทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหาร ปัจจัยด้านการสอน และปัจจัยด้านการจัดการอาคารสถานที่ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารงานระดับปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น .691,.728 และ .764ตามลำดับสำหรับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การบริหารงานระดับปฐมวัย พบว่า ปัจจัยด้านการจัดการอาคารสถานที่สามารถพยากรณ์การบริหารระดับปฐมวัยได้ร้อยละ 58.30เมื่อเพิ่มตัวแปรซึ่งเป็นปัจจัยด้านการสอนสามารถพยากรณ์การบริหารระดับปฐมวัยได้ร้อยละ 66.20และเมื่อเพิ่มตัวแปรซึ่งเป็นปัจจัยด้านการบริหารสามารถพยากรณ์การบริหารระดับปฐมวัยได้ร้อยละ 69.00แสดงว่าตัวแปรทุกตัวสามารถเข้าสู่สมการพยากรณ์การบริหารงานระดับปฐมวัยได้ โดยสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
= 0.128 + 0.380(X3) + 0.324(X2) + 0.264(X1)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
= 0.391(X3) + 0.315(X2) +0.235(X1)
This research aimed (1) to study the performances of administrators, teachers and educational supervisors according to the factors of administration, the factors of teaching and the factors of buildings and places (2) to investigate the kindergarten level administration (3) to study the factors affecting the kindergarten level administration and (4) to investigate the predictive factors of the kindergarten level administration in Prajim Educational Quality Development Cluster, Mae ChaemDistrict, Chiang Mai Province. The samples used for this study comprised 159 administrators and teachers in Prajim Educational Quality Development Cluster, Mae Chaem District, Chiang Mai Province under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 6. The tools used for this research were questionnaires about the factors of the kindergarten level administration in Prajim Educational Quality Development Cluster,Mae Chaem District, Chiang Mai Province.The statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, correlation coefficient and multi regression analysis. The findings were as follows:
Performances relating the factors of administration, the factors of teaching and the factors of buildings and places, the sample agreed that the performances were at a high level. According to the kindergarten level administration, it was shown that the overall sample agreed that the performances were at a high level as well. Related to the analysis results of the relationship among the factors affecting the kindergarten level administration, it revealed that the relationship of all 3 factors and the kindergarten level administration were positive and statistically significant at the level of .01 according to the hypothesis as set. The correlation coefficients were .691, .728 and .764 respectively. Performances relating the analysis results of the relationship among the predictive factors of the kindergarten administration level, it was found that the factors of buildings and places could predict the kindergarten level administration at the percentage of 58.30. When adding the variables as the factors of teaching, they were able to predict the kindergarten level administration at the percentage of 66.20. When adding the predictive factors of administration, they could predict the kindergarten level administration at the percentage of 69.00. Itwas indicated that all variables could enter the predictable equations of the kindergarten level administration by writing the predictable equations in form of raw and standard scores as below:
Predictable equation in form of raw score
= 0.128 + 0.380(X3) + 0.324(X2) + 0.264(X1)
Predictable equation in form of standard score
= 0.391(X3) + 0.315(X2) +0.235(X1)
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.