ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเรียนต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาสะเมิง 3 อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านชีวสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาสะเมิง 3 อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเรียนต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาสะเมิง 3 อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเรียนต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาสะเมิง 3 อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษา สะเมิง 3 อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยในการตัดสินใจเรียนต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้านชีวสังคม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ต้องการมีงานที่ดี ๆ ทำ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ชอบศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนที่ต้องการเรียนต่อ ถ้าเรียนจบแล้วสามารถหางานทำได้ง่าย และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนที่ต้องการเรียนต่อมีบริการรถรับ- ส่ง และด้านเศรษฐกิจและสังคม ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ปกครองของนักเรียนมีความภาคภูมิใจที่นักเรียนเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้ปกครองมีทุนเพียงพอจะสนับสนุนให้เรียนต่อได้ สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และสามารถพยากรณ์การตัดสินใจเรียนต่อของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาสะเมิง 3 อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่พบว่าทั้ง 3 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านชีวสังคม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับการตัดสินใจเรียนต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยแสดงสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบและในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
=0.333 + 0.358(X3) + 0.307(X1)+ 0.257(X2)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
=0.323(X3) + 0.321(X1) + 0.287(X2)
This research aimed (1) to investigate the demographic, environmental, economic and social factors of Mathayom Suksa 3 students in Sameong Education Quality Development School Cluster 3, Sameong District, Chiang Mai Province. (2) to investigate the factors relating the decision to further study of Mathayom Suksa 3 students in Sameong Education Quality Development School Cluster 3, Sameong District, Chiang Mai Province. (3) to study the factors being able to predict the decision to further study of Mathayom Suksa 3 students in Sameong Education Quality Development School Cluster 3, Sameong District, Chiang Mai Province. The samples used in this research were 114 of Mathayom Suksa 3 students in Sameong Education Quality Development School Cluster 3, Sameong District, Chiang Mai Province in the academic year 2013. The number was 114. The tools used in this study was questionnaire. The data were analyzed through frequency, percentage, standard deviation, correlation coefficient analysis and multiple regression analysis. The findings were as follows: the factors decision to further study of Mathayom Suksa 3 students comprised the demographic factors with the highest mean showing the needs to have a good job and with the lowest mean indicating the liking to academic study. The environmental factors showing the item with the highest mean was that the schools they wanted to further study could help them get a job easily when they had graduated. The item with the lowest mean was that the schools they wanted to further study should provide transportation service. The economic and social factors indicating the item with the highest mean was that the parents were very proud of their students furthering study in higher levels. The item with the lowest mean was the parents had enough money to support them to further study. The factors relating and being able to predict the decision to further study of Mathayom Suksa 3 students in Sameong Education Quality Development School Cluster 3, Sameong District, Chiang Mai Province revealed that the relationship among 3 factors were positive and statistically significant at the level of .01 according to the hypothesis as set by showing the predictable equations in form of raw and standard scores as below:
Predictable equation in form of raw score
=0.333 + 0.358(X3) + 0.307(X1)+ 0.257(X2)
Predictable equation in form of standard score
=0.323(X3) + 0.321(X1) + 0.287(X2)
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.