ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน 3) เพื่อศึกษาถึงน้ำหนักปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน 4) เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ระยะแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลภาคสนามและ แบบบันทึกการสังเกต เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 22 เครือข่าย จำนวน 60 คน ส่วนระยะที่สองเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนจำนวน 110 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 110 คน และกลุ่มประชาชนในพื้นที่ จำนวน 220 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 440 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมานแบบพารามิเตอร์หาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรซึ่งอยู่ในรูปแบบจำลองสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนสูงเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ภาวะผู้นำของผู้บริหารเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมต่อเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน และการได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและเอกชนตามลำดับ
2. ประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง
3. ค่าน้ำหนักหรือค่าอิทธิพลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดพบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารเครือข่าย มีอิทธิพลสูงสุด รองลงมาได้แก่ การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมต่อเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน และการได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและเอกชน โดยปัจจัยทั้ง 4 เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 โดยมีค่าอิทธิพลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเท่ากับ 0.83 0.61 0.56 และ 0.36 ตามลำดับ
4. ผลการศึกษาสภาพปัญหาของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนพบว่า เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนยังขาดแคลนผู้บริหารเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งและปัจจัยด้านงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมของเครือข่าย ส่วนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนนั้นต้องให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญโดยเครือข่ายองค์กรต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ มีการพัฒนาแกนนำเครือข่าย ดำรงไว้ซึ่งความเป็นเครือข่ายและกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เน้นการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก และมีการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอยู่ตลอดเวลา
The objectives of this study were 1) To study condition of the factors that affecting the efficiency of the private organization networks in preventing and solving drug problems, 2) To study the efficiency of the private organization networks, 3) To study the weight of casual factors that affected the efficiency of the private organization networks, 4) To study the problems and the ways to increase the effectiveness of the private organization networks in preventing and solving drug problems in the Upper Northern Region of Thailand. The research methodology used a mixture of qualitative and quantitative research. The first phase is Qualitative Research Technique, use focus groups technique, data field and observational record as tools in collecting information from the key informant who involved with the private organizations in the North 22 networks, with a total number of 60 cases. The second phase is the Quantitative Research Techniques, use questionnaires to collect data from a population of 3 groups as the following; 110 network executives, 110 officers (public and private organizations) and 220 people, total number is 440 people. The Qualitative Research analyzed by descriptive approach, Quantitative Research analyzed by descriptive statistics and parametric inference statistics. The Structural Equation Modeling: SEM was used for the relations of casual factors variable.
The Results were as follow.
1. The strength of the private organization networks was the first factor that affected at high level and followed by the executives' leadership of the private organizations networks, the participation of government and society organizations to the private organizations networks and the supporting from the government and private sectors.
2. The efficiency of the private organization networks in preventing and solving drug problems was in moderate level.
3. The weight of casual factors that affected the efficiency of the private organization networks in preventing and solving drug problems found that the executives' leadership was the most influential factor followed by the participation of society organizations to the private organizations networks, the straightness of the private organization networks and the supporting from the government and private sectors.
In addition, the 4 factors were the causal factors positively influencing the efficiency of the private organization networks in preventing and solving drug problems and the statistically significant level was at 0.05. The following results were the causal factors that affected to the efficiency of the private organization networks in preventing and solving drug problems at 0.83, 0.61, 0.56 and 0.36, respectively.
4. The study of the problems of the private organization networks found that, the lack of the strong networks executive and the budget for the operation of the private organization networks .The ways to increase the efficiency of the private organization networks must be focused on the participation of the people in every area. The Development of network leaders should have to be developed in order to maintain the networks. The preventing and solving drug problems processes have to be focused on the self reliance and be coordinated with the government and private sectors all the time.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.