การเปิดรับ การรับรู้ และความพึงพอใจข่าวสารของลูกค้าที่ใช้บริการ ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอิเลฟเว่น ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของลูกค้าที่ใช้บริการร้านสะดวกซื้อเซเว่นอิเลฟเว่น (7- eleven) 2) ศึกษาการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับร้านสะดวกซื้อเซเว่นอิเลฟเว่น ของผู้ใช้บริการร้านค้า 3) ศึกษาความพึงพอใจข่าวสารเกี่ยวกับร้านสะดวกซื้อเซเว่นอิเลฟเว่นของผู้ใช้บริการร้านค้า ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการร้านสะดวกซื้อเซเว่นอิเลฟเว่นในเขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จำนวน 420 คน ผลจากการวิจัยพบว่า ในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารนั้น 1) ประเภทสื่อบุคคล กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลข่าวสารจากการแนะนำจากพนักงานขายมากที่สุด ร้อยละ 84 2) ประเภทสื่อมวลชน กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 98.3 3) ประเภทสื่อเฉพาะกิจ กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลข่าวสารจากบรรจุภัณฑ์มากที่สุด ร้อยละ 69.3 และ 4) ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ เช่น http://www.cpall.co.th/ ร้อยละ 29 สำหรับการรับรู้ข่าวสารนั้น กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่า เป็นร้านขายสินค้าสะดวกซื้อมากที่สุด ร้อยละ 34.8 รองลงมาคือ ชำระสินค้าและบริการ ร้อยละ 30.8 สำหรับความพึงพอใจข่าวสารนั้น ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของร้านสะดวกซื้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง โดยให้ความเห็นว่าการโฆษณาทางโทรทัศน์มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า เมื่อแยกเป็นรายข้อพบว่าพื้นที่ใกล้แหล่งชุมชนของร้านสะดวกซื้อ ทำให้ง่ายต่อการซื้อสินค้ามีผลกระทบมากที่สุด รองลงมาคือคุณภาพของร้านสะดวกซื้อ ตราสินค้าของร้านสะดวกซื้อ (มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก) ราคาขายสินค้าในร้านสะดวกซื้อ มีความเหมาะสม และการส่งเสริมการขาย รายการสินค้าที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ มีความน่าสนใจ ตามลำดับ
This research is a quantitative approach which aims to 1) study the information exposure of customer’s purchasing at the 7-eleven convenience stores and 2) study the information perception of customer’s purchasing at those stores, as well. The population and sample are customers who live in Bangkok and use to buy any products or services there. Data was accumulated from 420 samplings according to theories of probability sampling and multi-stage random sampling. According to customers’ information exposure about the convenience stores, as the first objective, In case of the frequency of weekly information consumption about the convenience stores 1) personal media: they get the most information from the convenience store sellers (84%). 2) mass media: the customers receive the most information from television (98.3%). 3) Specialization Media: they get the most information from packaging (69.3%). And 4) Internet: they mostly search from websites such as http://www.cpall.co.th/ (29%). Apart from the customers’ information exposure part, as the second objective, there is the customer’s information perception on the convenience store after receiving the information. The most of samples percept as the convenience store (34.8%). The second perception is for payment services (30.8%). For the customers’ information satisfaction part, as the third objective, The most customers’ satisfaction toward the data transmission of the convenience store is in the medium level. Television advertising and public relations are believable. The factors which affect customer’s purchasing at the convenience stores are in the high. Considering on each topics, the most of samples think of the nearest convenience store of their community. Then the quality of convenience store is importance. The convenience store brand is well-known, engagement, reasonable price and promotion, and interested product items.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.