ผลกระทบของภาพยนตร์การ์ตูนชุดบาร์บี้ที่มีต่อเด็กประถมศึกษาตอนต้น ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหา ความหมายและค่านิยมในภาพยนตร์การ์ตูนชุดบาร์บี้ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของเนื้อหา ความหมายและค่านิยมในสื่อภาพยนตร์การ์ตูนชุดบาร์บี้ที่มีต่อเด็กระดับประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่านิยมที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาและความหมายของภาพยนตร์การ์ตูนกับค่านิยมที่เกิดขึ้นจากการรับชมภาพยนตร์การ์ตูนชุดบาร์บี้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีสองกลุ่ม กลุ่มแรก คือ เด็กระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 คน กลุ่มที่สอง คือ ภาพยนตร์การ์ตูนชุดบาร์บี้ที่จัดจำหน่ายในประเทศไทย ในระหว่างปี ค.ศ. 2001 – ค.ศ. 2012 จำนวน 23 เรื่อง การเก็บข้อมูลแบ่งเป็นสองขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 คือ การวิเคราะห์เนื้อหาสาร ผู้วิจัยทำการศึกษาเนื้อหาสารจากภาพยนตร์การ์ตูนชุดบาร์บี้ จากหลักการเล่าเรื่องและโครงสร้างเรื่องว่ามีการนำเสนอเนื้อหาหลักที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดและค่านิยมในด้านใดบ้าง ขั้นตอนที่ 2 คือ การนำแนวคิดและค่านิยมที่ได้แต่ละเรื่องนั้นมาใช้เป็นแนวคำถามในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเด็กประถมศึกษา ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาสารจากภาพยนตร์การ์ตูนชุดบาร์บี้สะท้อนถึงแนวคิดและค่านิยมแบบนามธรรมและรูปธรรม โดยค่านิยมที่ปรากฏมากที่สุด คือ ค่านิยมเรื่องความดีงามและความกล้าหาญ รองลงมา คือ ความมีน้ำใจต่อเพื่อน มิตรภาพ และหน้าที่ความรับผิดชอบ ส่วนแนวคิดค่านิยมเชิงรูปธรรมที่ปรากฏ คือ ค่านิยมเรื่องความสวยงาม ความมีบุคลิกภาพโดดเด่นและวางตนเหมาะสมกับความเป็นหญิงสาว เมื่อนำแนวคิดด้านค่านิยมเหล่านี้ไปใช้เป็นคำถามตั้งต้นในการสัมภาษณ์
กลุ่มตัวอย่าง จึงพบว่า เด็กสามารถรับรู้ถึงแนวคิดและค่านิยมเหล่านี้ได้ จดจำได้ และมีความประทับใจในแนวคิดเหล่านี้ กล่าวคือ เด็กสามารถให้คุณค่าว่าเป็นต้นแบบที่ดีซึ่งตนอาจจะนำไปใช้ ส่วนแนวคิดและค่านิยมในส่วนของรูปธรรม คือ ความงาม บุคลิกภาพและการวางตัว เด็กๆ สามารถรับรู้ จดจำ และมีความประทับใจเช่นเดียวกัน แต่มีความแตกต่างตรงที่เด็กเลือกที่จะเลียนแบบหรือนำค่านิยมรูปธรรมเหล่านี้ไปปฏิบัติตามอย่างชัดเจนมากกว่าแนวคิดเชิงนามธรรมอย่างเรื่องความดี หรือความกล้าหาญ สรุปคือเนื้อหาหลักจากสารภาพยนตร์การ์ตูนชุดบาร์บี้สะท้อนค่านิยมทั้งเชิงนามธรรมและรูปธรรม เด็กมีความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ และให้คุณค่าได้ แต่เด็กมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเลียนแบบด้านรูปธรรมมากกว่านามธรรมอย่างชัดเจน
This research is qualitative research aims: 1) to investigate the content. the meaning and values of the cartoon series, Barbie 2) to study the impact of the content, the meaning and values in media cartoon series Barbie on elementary school children 3) to compare the values formed with audience and value obtained from the meaning of the Barbie cartoon series content analysis. The study has two stages. The first stage involves a study of the cartoon series, Barbie, launched during 2001-2012 totaling 23 episodes. The narrative and structure are examined to elicit the main concept and values presented in the series. In the Second stage, the researcher used the main concepts and values elicited from the first stage to perform in-depth interview with students in the primary school level in Chiang Mai, totaling 20 students. The results revealed that the cartoon series, Barbie, presented both subjective and objective ideas and values. The most common theme was the decency and courageous, the second was the kindness to friends, friendship and responsibility. The series deliver the idea for young woman to be beautiful and have personality and behave befitting a young woman. The in-depth interviews revealed that children could recognize the above-mentioned between concepts and values, remember and appreciate these concepts as a good role model to which they might apply. The ideas and values of tangible beauty, personality and demeanor were delivered to children as well and they were impressed. But there are differences between concepts and values about beauty body or personality that clearly to see outside and abstract concepts about goodness or courage. The conclusion is children could recognize all concepts and values that show in cartoon series content but they choose to present themselves and tend to mimic behavior that to look alike not to be like Barbie in the cartoon series.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.