ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

Main Article Content

สุกัญญา นิมานันท์
วลัยพร เตชะสรพัศ

Abstract

การวิจัย เรื่อง ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และระดับความผูกพันองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น โดยศึกษาจากประชากร  จำนวน 83 คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสมการถดถอย (Linear Regression)   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

บุคลากรของมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส  ปฎิบัติงานในสายสนับสนุนการสอน  มีอายุระหว่าง 31-40  ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท  ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยระหว่าง6-10 ปี    และมีรายได้เฉลี่ย 10,001-20,000 บาทต่อเดือน โดยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น คือ 1) การมีช่องทางเพื่อสื่อสารกับบุคลากรได้อย่างสะดวกและเข้าถึงทุกระดับ 2) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจงานที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  3) การดูแลเรื่องสุขภาพของบุคลากรอย่างเพียงพอ และ 4) ผู้บังคับบัญชามีการรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรและสามารถให้คำชี้แนะได้ และสามารถปกป้องผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชากรณีที่เกิดปัญหา  ส่วนลักษณะความผูกพันของบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ในด้านการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมของมหาวิทยาลัย  พบว่า บุคลากรมีความเชื่อว่ามหาวิทยาลัยจะสามารถจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนได้  และเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามเพื่อประโยชน์ขององค์กร เพื่อให้งานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย ในด้านความปรารถนาที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกขององค์กร พบว่าเมื่อมีบุคคลอื่นกล่าวถึงมหาวิทยาลัยอย่างเสีย ๆ หาย ๆ จะรีบแจ้งทันที   สำหรับระดับความผูกพันต่อองค์กร  พบว่า ปัจจัยด้านองค์กร ด้านงาน ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และด้านภาวะผู้นำไม่มีผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กร

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะว่ามหาวิทยาลัยควรมีการปรับฐานเงินเดือน   การปรับผังองค์กร เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความชัดเจนและสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานได้เข้าใจ  รวมถึงการปรับปรุงกฎระเบียบภายในองค์กรเพื่อให้สอดรับกับสภาพจริง และควรมีคู่มือการปฏิบัติงานระดับหน่วยงานและสนับสนุนทรัพยากรให้เหมาะสมกับงาน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน รวมถึงควรมีการจัดอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  ตลอดจนสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี   อีกทั้งควรมีการประชุมชี้แจงค่านิยม (Share Value)  ให้กับบุคลากรใหม่ที่เข้ามาปฏิบัติงาน  เพราะจะได้ทราบวัฒนธรรมองค์กรอย่างถูกต้อง   ตลอดจนมีการส่งเสริมให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (Career Path) และควรมีการศึกษาสาเหตุการลาออกของบุคลากร และควรธำรงความสัมพันธ์แบบพี่น้อง แบบครอบครัว ถ้อยทีถ้อยอาศัยแบบที่เป็นอยู่ และปรารถนาให้เน้นภาพลักษณ์/อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

The objectives of this research study were to study the factors effecting organizational

commitment and the level of organizational commitment of employees of  The  Far  Eastern University.  Eighty-three persons of employees of The Far Eastern University was used as a sample group. One-to-Five Level questionnaires were used as data collection tool. Statistics analysis using Percentages, Mean and Standard Deviation and Linear Regression.   The study found that:  The majority of the employees were married ages between 31 – 40 years educated with Master degrees, have been working at The Far Eastern University between 6 – 10 years with an estimated income between 10,001 – 20,000 baht per month. From the study we found that the factors effecting the organizational commitment of the employees of The Far Eastern university were: 1) ability to freely communicate with employees in all levels 2) ability to participate in decision making related to their tasks 3) ability to receive health benefit, 4) heads of departmental units were willing to listen and to advice on their peers and to help when there were conflicts and problems.  The organizational commitment characteristic of The Far Eastern employees was found that they accepted goals and values of The Far Eastern University and believed that The Far Eastern University was able to provide and educate people. They were willing to make effort for the benefit of the organization and to complete required tasks given to them. They also expressed their desire to maintain their membership of The Far Eastern University and would notify the university when negative information about the university were displayed. On the level of organizational commitment, factors on jobs, human  resource development and leadership don’t have effect on organizational commitment.

In addition, suggestions were made to the university that there should adjust salary scale, organizational hierarchy so that it would be clear to the employees. Rules and regulations should also be re-written or updated in order to conform to the actual conditions. There should also be procedure manuals for all units in the organization and supporting resources necessary for the tasks given. Trainings should also be arranged so that employees would gain new or necessary skills suitable for their tasks as well as good relationships between employees themselves. Share values should be known to new employees in order for them to fit in with the organization norms. Professional career path should be promoted for employees’ career progress. There should be a study for the reasons of employees’ resignation. Managing their relationships like brothers and sisters, helping each other as a family would help its members and to retain The Far Eastern University’s image and identity.

Article Details

Section
Research Articles