การวิเคราะห์คุณภาพการปฏิบัติงานของตำรวจสายตรวจ ในการป้องกันอาชญากรรม ในพื้นที่รับผิดชอบของตำรวจภูธรภาค 5

Main Article Content

ภัทรวุฒิ อัครภัทร
วันทนีย์ จันทร์เอี่ยม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของตำรวจสายตรวจในการป้องกันอาชญากรรม  (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานสายตรวจ ในการป้องกันอาชญากรรมของสถานีตำรวจ (3) สังเคราะห์ แนวทาง การสร้างคุณภาพงานป้องกันอาชญากรรม ของสถานีตำรวจ  การวิจัยนี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ระยะแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม และแบบบันทึกการสังเกต เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชาชนที่เคยมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสายตรวจ   กลุ่มคณะกรรมการตรวจและติดตามการบริหารงานสถานีตำรวจ  กลุ่มผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม  กลุ่มอาจารย์ตำรวจที่มีผลงานด้านวิชาการ และกลุ่มผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบงานป้องกันปราบปราม รวมจำนวน 50 คน กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Snowball Sampling  ส่วนระยะที่สองเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามที่ได้ผ่านการตรวจความถูกต้องและความสอดคล้อง (Index of Congruence) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ผลค่า IOC = 0.870  และนำแบบสอบถามทำการทดสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา และความเชื่อมั่น จากกลุ่มตัวอย่าง (Try Out) จำนวน 30 คน คำนวณโดยสูตรค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลค่า Alpha = 0.956  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มประชาชนที่เคยเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสายตรวจ  กลุ่มตำรวจสายตรวจ และกลุ่มคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานสถานีตำรวจ  จำนวน 441 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จากสูตรของทาโร ยามาเน่   วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณทำการวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ  t-test  และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัย ด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ  สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง   ผลการวิจัย พบว่า การปฏิบัติงานของตำรวจสายตรวจในการป้องกันอาชญากรรมมีคุณภาพมาก โดยปัจจัยการบริหารจัดการสถานีตำรวจ ปัจจัยสมรรถนะบุคคล และปัจจัยแรงกดดันภายนอกสถานีตำรวจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานสายตรวจ  ซึ่งปัจจัยสมรรถนะบุคคลด้านความเข้าใจในงานสายตรวจและเข้าใจในพื้นที่รับผิดชอบ มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานสายตรวจมากที่สุด  ดังนั้นในการสร้างคุณภาพงานป้องกันอาชญากรรมของสถานีตำรวจ  ผู้บริหารงานสายตรวจต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาความสามารถของสายตรวจในด้านการมีความรู้ในข้อกฎหมาย ระเบียบ  เพิ่มความเชี่ยวชาญยุทธวิธีตำรวจในการปฏิบัติงาน และการกำหนดวิธีปฏิบัติงาน เพื่อให้สายตรวจมีความรอบรู้ลักษณะพื้นที่ ตลอดจนบริบทท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบ  

This research aims to (1) evaluate the quality of performance of police patrols in crimes prevention (2)  analyze the factors affecting the quality of patrolling performance in prevention of crimes   (3)  synthesize the approaches and create of an efficiency in prevention of crimes for the police stations.     

The mixed methods research is used in this research:  The first phase is Qualitative Research Technique, using data field and observational record as tools in collecting information from the people involved in operational patrolling consists of Board of Audit and monitor the management station, a group of commanders in charge of crimes prevention and protection, the instructors in police academy and senior supervisors responsible for crimes suppression, with a total number of 50 cases. The samples are determined by Snowball Sampling Technique. The second phase is the Quantitative Research Techniques.  The questionnaires were examined for validity and consistency (Index of Congruence) by 3 experts; the IOC = 0.870. And 30 samples (Try Out) were tested for the validity and reliability of the content computed by Coefficient Alpha of Cronbach, resulted in Alpha = 0.956. The samples are gathered from people involved in the operational patrol, a group of patrolling squads and members of the Commission of Inspecting and Tracking the Management of Police total number of 441. The sampling liability is 95 percent computed by Taro Yamane’s formula. The Qualitative Research analyzed by descriptive approach, Quantitative Research analyzed by t-test and the relationship of the factors analyzed by multiple linear regression analysis, confirmatory factor analysis and structural equation models. The findings show that the performance of police patrols in crimes prevention has high quality in performance. The three factors; the management of police station, the individual performance and external pressure have positively correlated to the performance of the patrolling units.  The factor of individual capability in understanding the mission of patrolling and the understanding of area of responsibility is the critical key to most success in patrolling performance.   Therefore, to create an efficiency in crime prevention, the executives need to focus on developing the patrolling officers in laws and regulations.  They need to be well trained in tactical and operational functions so that they will have more understanding in the operational area and the context of responsibilities.  

Article Details

Section
Research Articles