พฤติกรรมและการใช้ประโยชน์จากการติดตามข่าว ผ่านสื่อของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อริสา เหล่าวิชยา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์จากการติดตามข่าวสาร และเปรียบเทียบปัจจัยความแตกต่างระหว่างบุคคล กับการใช้ประโยชน์จากการติดตามข่าวสารของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลวิจัย พบว่า เยาวชนไทยที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารผ่านเว็บสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter มากที่สุด ระยะในการเปิดรับคือมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน มีการใช้ประโยชน์จากการติดตามข่าวสาร เพื่อรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุดและผลการเปรียบเทียบปัจจัยความแตกต่างระหว่างบุคคล กับการใช้ประโยชน์จากการติดตามข่าวสารของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า เยาวชนไทยที่มีเพศ มีที่พักอาศัยร่วมกับบุคคลอื่น และเลือกรับข่าวสารผ่านช่องทางที่แตกต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากการติดตามข่าวสารไม่แตกต่างกัน

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

อริสา เหล่าวิชยา, ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ผลงานด้านวิชาการ

งานเขียนบทความวิชาการ ดังต่อไปนี้

เรื่อง ซีรีย์เกาหลี กับ เศรษฐกิจสร้างสรรค์

เรื่อง ภาพลักษณ์นักการเมือง

เรื่อง การเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์

เรื่อง กลยุทธ์การจัดการตลาดเชิงกิจกรรม

 

งานเขียนบทความวิจัย ดังต่อไปนี้

เรื่อง บทบาทของหนังสือพิมพ์ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน

 

เสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติ

เรื่อง มุมมองนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพต่อการใช้ Social Network ทางการตลาด

เรื่อง เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข่าวประชาสัมพันธ์ของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน

เรื่อง ทิศทางของแหล่งข่าวในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนผ่าน   หนังสือพิมพ์ไทยรายวัน

References

กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี และไอลดา ฟอลเล็ต. (2557). พฤติกรรมการเสพสื่อทีวีที่เปลี่ยนไป. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558, จาก http://www2.thaipbs.or.th/aipm/?p=107

กานต์ กลมสอาด. (2553). การเปิดรับข่าวสารและความคิดเห็นของผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ขวัญเรือน กิติวัฒน์. (2531). แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสาร. ใน เอกสารประกอบการสอนวิชาพลศาสตร์ของการสื่อสาร. (หน่วยที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พงษ์ วิเศษสังข์. (2555). องค์ความรู้ทางการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามลดา จำกัด.

พิเชศ รุ่งสว่าง. (2542). พฤติกรรมการรับข่าวสารจากสื่อมวลชนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประจำจังหวัดในจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2548). แนวคิดหลักด้านการสื่อสาร. ใน ประมวลสาระชุดวิชา ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร (หน่วยที่ 3, น.116-177). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน. (2557). ผลวิจัยชี้วัยรุ่นไทยมากกว่าครึ่งอ่านข่าวออนไลน์ทุกวัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558, จาก http://www.kidsradioclub.or.th/article/treatise/1241

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน. (2558). กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเยาวชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิหาคม 2558, จาก http://oppy.opp.go.th/about/11.html

สุธี พลพงษ์, บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์ และประภาส นวลเนตร. (2550). ชุดความรู้นิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำรา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสถียร เชยประทับ. (2526). สื่อมวลชนและการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

DeFleur, Melvin. (1996). Theories of Mass Communication. New York: A Liberal art Perspective, Boston: Houghton Mifflin.

Foster, J. (2002). Effective writing skills for public relations. (2nd ed.). London: Kogan Page.

Hicks, W., Holmes, T., Gilbert, H., & Adams, S. (2008). Writing for journalists. London: Routledge.

Katz, E., Blumler, J.G. (1974). The used of mass communication: Current perspective on gratifications research. Beverly Hills, CA: Sage Publication.

Klapper, J.T. (1960). The Effects of Mass Communication. New York: Praeger.

McCombs, M.E. and Becker, L.E. (1979). Using Mass Communication Theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Smith, J. (1995). The new publicity kits. U.S.A.: John Wiley & Sons.