ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของแขวงทางหลวง
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแขวงทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแขวงทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ 3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแขวงทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือเจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือจำนวน 22 แห่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการแขวงทางหลวง 22 คน รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวง 44 คน หัวหน้าหมวดทางหลวง 132 คน และหัวหน้างาน 22 คนรวมจำนวนทั้งสิ้น 220 คน เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม การสังเกตและการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการจากผู้บริหารแขวงทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์สมการความถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis)
การวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) การดำเนินงานของแขวงทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือมีสภาพปัญหาและอุปสรรคในด้านความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณสองข้างทาง การเกิดโอกาสการทำผิดกฎหมายทางหลวง การเกิดอุบัติเหตุ และถนนไม่ได้ตามมาตรฐาน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแขวงทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ คุณภาพของการบำรุงรักษาถนนไม่ดีพอ และบทบัญญัติกฎหมายทางหลวงไม่ชัดเจน 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแขวงทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ต้องให้ความสำคัญต่อความหลากหลายในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในมิติต่างๆดังนี้ มิติแห่งการเรียนรู้และการพัฒนา มิติกระบวนการภายในองค์กร มิติแห่งพันธมิตรหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมิติแห่งความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานแขวงทางหลวงต้องพัฒนาตนเองไปพร้อมๆกันทุกมิติเพื่อนำไปบูรณาการในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของแขวงทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมทางหลวง. (2555). รายงานประจำปี 2555 ของกรมทางหลวง.
กรมทางหลวง. (2557). สรุปรายงานอุบัติเหตุบนถนนกรมทางหลวง ประจำงวดครึ่งปีแรก 2556. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2557. จาก http://www.js100.com.
กองบังคับการตำรวจทางหลวง. (2557). หน้าที่รับผิดชอบของกองบังคับการตำรวจทางหลวง. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2557. จาก http://highwaypolice.org/authourity.php.
เป็นหนึ่ง วานิชชัย. (2557). ปัญหารถบรรทุกสิบล้อน้ำหนักเกินพิกัดตามกฎหมาย. สืบค้นวันที่ 2 มิถุนายน 2557. จาก http://kanok.co.th.
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา. (2546) แนวทางการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรทางบก. การประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 21 สมัยสามัญนิติบัญญัติ (เป็นพิเศษ). วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม 2546.
คณะผู้เข้ารับการอบรม กลุ่มที่ 5. (2549). มาตรการในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายเชิงบูรณาการ. รายงานการฝึกอบรม. หลักสูตร นักบริหารกิจการยุติธรรม : มาตรการในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น ประจำปี พ.ศ. 2549. สำนักงานกิจการยุติธรรม. กระทรวงยุติธรรม”.
พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535. (ฉบับปรับปรุงปี 2549).
วิชัย ฤกษ์ภูริทัต. (2550). การบริหารงานก่อสร้าง. เอกสารประกอบการสอนวิชาการบริหารงานก่อสร้าง. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารงานก่อสร้าง). คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภางค์ จันทวานิช. (2555). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวัฒนา ธาดานิติ. (2543). การวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
พัฒนาเมือง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง. (2557). หน้าที่รับผิดชอบของสำนักงานขนส่งจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2557. จาก http://www.lampangdlt.com/lampangdlt-15.html
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.
Hamza, Mohamed Ali D. (2005) A study of road accidents, causalities and their injury patterns in Libya. PhD. Thesis. School of Mechanical and Systems Engineering. Newcastle University.
Likert, R. (1961). New Patterns of Management. New York : McGraw – Hill.