ความสัมพันธ์ระหว่างจิตพอเพียงและพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชุดตัวแปรจิตพอเพียงและชุดตัวแปรพฤติกรรม
การบริโภคด้วยปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
จำนวน 812 คน ไดม้ าจากการสุม่ แบบแบง่ ชั้น ใชแ้ บบสอบถามเปน็ เครื่องมือในการรวบรวมขอ้ มูล การวิเคราะหข์ อ้ มูล
ใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า ชุดตัวแปรจิตพอเพียงและชุดตัวแปรพฤติกรรม
การบริโภคด้วยปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่มี
ค่าความสัมพันธ์คาโนนิคอล เท่ากับ 0.623 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับค่าไอเกนหรือ ค่ากำลังสอง
ของความสัมพันธ์คาโนนิคอล พบว่า มีค่าเท่ากับ 0.388 นอกจากนี้เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์คาโนนิคอล
แบบคะแนนมาตรฐาน พบว่า ตัวแปรการมีภูมิคุ้มกันตนมีความสำคัญในการอธิบายตัวแปรจิตพอเพียงมากที่สุด
ขณะที่ตัวแปรพฤติกรรมการบริโภคสื่อด้วยปัญญามีความสำคัญในการอธิบายตัวแปรพฤติกรรมบริโภคด้วยปัญญา
มากที่สุด

This research focused to investigate the correlation between psychological sufficiency and
intellectual consumption behavior of grade 6 students. The subjects were 812 grade 6 students in Muaeng
district, Chiang Mai. The stratified random sampling was used to select the subjects. Questionnaires were
used to collectdata. Using the canonical correlation analysis to analyze the data. The results showed that
the canonical correlation between psychological sufficiency and intellectual consumption behavior
of grade 6 students, Muaeng district, Chiang Mai province was at 0.623 with the statistically significant
difference at .01. The square correlation of the canonical correlation values was at 0.388. Additionally,
the canonical correlation as the standard scores found that the variable of psychological immunity had
the significance in explaining psychological sufficiency the most whilst the variables of intellectual media
consumption behavior had the importance in describing the intellectual consumption behavior the most.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์, ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วท.บ.(จิตวิทยา) (เกียรตินิยมอันดับ1) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2541                                       

วท.ม.(จิตวิทยาโรงเรียน) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2543                                                        

วท.ด.(การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ     พ.ศ.2551                           

References

กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง, อรพินทร์ ชูชม, ฉันทนา ภาคบงกช, และสธญ ภู่คง. (2554). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตเทศบาลเมืองชุมพร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 3(1), 172-184.

โกศล มีคุณ. (2552). บทความประกอบการบรรยาย เรื่อง ความมีเหตุผล: การพัฒนาให้เป็นดัชนีสำคัญ. ในการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักวิจัยภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาดัชนีพหุทางจิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาจิตด้วยนิทาน (ครั้งที่ 1) โดยโครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 22-25 เมษายน 2552 ณ โรงแรมระยองรีสอร์ท จังหวัดระยอง.

งามตา วนินทานนท์. (2552). บทความประกอบการบรรยาย เรื่อง เครื่องมือวัดภูมิคุ้มกันทางจิตแบบพหุมิติ: การใช้เพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. ในการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักวิจัยภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาดัชนีพหุทางจิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาจิตด้วยนิทาน (ครั้งที่ 1) โดยโครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 22-25 เมษายน 2552 ณ โรงแรมระยองรีสอร์ท จังหวัดระยอง.

จิตติพร ไวโรจน์วิทยาการ. (2551). ปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนที่ประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จีรพัฒน์ ศิริรักษ์. (2555). ลักษณะสถานการณ์ในโรงเรียน ครอบครัวและจิตพอเพียงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดชอบของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดุษฎี โยเหลา. (2541). เอกสารคำสอน วิชา วป 712 สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์ IV. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2552). บทความประกอบการบรรยาย เรื่อง แนวทางการวิจัยเพื่อสร้างดัชนีการมีภูมิคุ้มกันทางจิต. ในการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักวิจัยภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาดัชนีพหุทางจิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาจิตด้วยนิทาน (ครั้งที่ 1) โดยโครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 22-25 เมษายน 2552 ณ โรงแรมระยอง รีสอร์ท จังหวัดระยอง.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดทางจิตแบบพหุระดับในบริบทของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ดวงพร อ่อนหวาน วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม สวิชญา ศุภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์ และธนบดินทร์ วงษ์เมืองแก่น. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง ตัวแบบการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ธีรารัตน์ รัตนวิสุทธิ์อมร. (2551). ภัยบนอินเทอร์เน็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2(1), 5-12.

นิภาพร โชติสุดเสน่ห์. (2545). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

นิศากร สนามเขต. (2550). การมีภูมิคุ้มกันภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปราณี จ้อยรอด, ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร, และประทีป จินงี่. (2553, มกราคม). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 16(1), 72-81.

ปัทมา ปรัชญาเศรษฐ. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความกตัญญูของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดระยอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2540 ). ถึงเวลามาพัฒนาเยาวชนกันใหม่. กรุงเทพฯ: กรีนพริ้นท์.

พระธรรมปฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2543). การจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2557 จาก http://life.cpru.ac.th.

เย็นใจ เลาหวณิช. (2552). บทความประกอบการบรรยาย เรื่อง จิตพอเพียง: แผนงานวิจัยองค์ความรู้เพื่อเกื้อหนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ในการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักวิจัยภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาดัชนีพหุทางจิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาจิตด้วยนิทาน (ครั้งที่ 1) โดยโครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 22-25 เมษายน 2552 ณ โรงแรมระยอง รีสอร์ท จังหวัดระยอง.

ลลิตภัทร เจริญรัฐ. (2555). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคด้วยปัญญาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ด้วยวิธีการวิเคราะห์กลุ่มพหุ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีระ บุณยะกาญจน์. (2552). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ และชลิดา วสุวัต. (2553). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

วันวิสา สรีระศาสตร์, งามตา วนินทานนท์, และนำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2555, มกราคม). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านสถานการณ์ทางสังคม และการมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 4(1), 1-13.

สิริมล ธีระประทีป. (2549). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักนวลสงวนตัวของนักเรียนหญิงสายอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อนรรฆนงค์ เรียบร้อยเจริญ. (2549). ปัจจัยเชิงเหตุแบบบูรณาการระหว่างบ้าน โรงเรียน และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษา ในโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อาภาพร อุดมพืช. (2553).การวิเคราะห์ลักษณะโฆษณาแฝงที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 3(2), 82-90.

อุบล เลี้ยววาริณ. (2552). บทความประกอบการบรรยาย เรื่อง การรับรู้คุณความดี: ดัชนีสำคัญเพื่อการวิจัยและพัฒนา. ในการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนานักวิจัยภายใต้โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาดัชนีพหุทางจิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาจิตด้วยนิทาน (ครั้งที่ 1) โดยโครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วันที่ 22-25 เมษายน 2552 ณ โรงแรมระยอง รีสอร์ท จังหวัดระยอง.

อรพินทร์ ชูชม, วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี, อัจฉรา สุขารมณ์, พรรณี บุญประกอบ, มนัส บุญประกอบ, และทัศนา ทองภักดี. (2550). รายงานการวิจัยฉบับที่ 109 เรื่อง การสำรวจพฤติกรรมการใช้และขจัดโทรศัพท์มือถือ-แบตเตอรี่ของคนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรพินทร์ ชูชม, สุภาพร ธนะชานันท์, และทัศนา ทองภักดี. (2554). รายงานการวิจัยฉบับที่ 137 เรื่อง ปัจจัยเชิงเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิตของเยาวชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Kohlberg, L. (1973). The Claim to Moral Adequacy of a Highest Stage of Moral Judgment. Journal of Philosophy, 70(18), 630-646.

Piaget, J. (1932). The Moral Judgment of the Child. London: Kegan Paul.