ผลการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาวงจรรวมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Research and Experiment) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการ
ใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาวงจรรวมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 32 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ขั้นตอนการวิจัย
แบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ 1) จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับงานวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น
แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน 2) ทดสอบ
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาวงจรรวมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่พัฒนาขึ้น 3) หาประสิทธิภาพและ
เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาวงจรรวมสำหรับ
นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่พัฒนาขึ้น 4) ประเมินความพึงพอใจของผูเ้รียนตอ่ การใชง้ านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
รายวิชาวงจรรวมที่พัฒนาขึ้น และ 5) วิเคราะห์ผลและสรุปผล ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนา
ขึ้นมีประสิทธิภาพ 79.01/77.88 ซึ่งได้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจ
ของผู้เรียนต่อการใช้งานบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
This research was research and experiment. The objective of this research were 1) to study the
effect of using e-Learning courseware on the Integrated Circuit of Undergraduate Students to Develop
Learning Achievement and 2) to study the satisfaction of using e-Learning on the Integrated Circuit.
Sample group was thirty-two Undergraduate students, major in Electronics Technology, College of Industrial
Technology, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. They were obtained by cluster random
sampling. The research was divided into five phases which consisted of 1) the prepare tools for research
which consisted of e-Learning, achievement test and questionnaire, 2) the test of e-Learning on the Integrated
Circuit of Undergraduate Students to Develop Learning Achievement, 3) the efficiency and comparisons of
average score of students before and after using e-Learning, 4) the evaluation in term of satisfaction among
students with regard to the use of the e-Learning and 5) the analysis and conclusion. Research finding were
as follows: 1) the efficiency of e-Learning was at 79.01/77.88, that based on defined performance criteria at
80/80 2) the comparisons of average score of students after using the e-Learning had higher average score
than before, with statistical significance by .05 level and 3) the result in terms of satisfaction among students
with regard to the use of the e-Learning was that the satisfaction level was very high in overall.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี.
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชาสื่อการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ระบบส่งเกรดออนไลน์. [ออนไลน์] 2558. [สืบค้น วันที่ 17 กรกฎาคม 2558]. จาก https://grade.icit.kmutnb.ac.th.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประคอง กรรณสูต. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริพร ทิพย์สูงเนิน. (2547). การสร้างและการหาประสิทธิภาพของบทเรียน e-Learning เรื่อง “ความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัด
กรมสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ธนัท อาจสีนาค. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียน e-Learning กับการสอน แบบปกติ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (หลักสูตรสถาบันราชภัฎ พ.ศ. 2542). วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ภาควิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ.