ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่าน การพิสูจน์สัญชาติของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนี
เข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาและอุปสรรค
ในการควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5
3) เพื่อศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติของ
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5 การวิจัยนี้ใช้วิธีการแบบผสานวิธีทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ระยะแรกเป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลภาคสนามและเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนาแบบไม่เป็นทางการและ
ใช้การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในลักษณะเจาะลึก จากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่ปฏิบัติงานด้านการควบคุม
แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 14 คน ระยะที่สอง
เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคน
เขา้ เมืองที่อยูใ่ นกำกับและควบคุมของกองบังคับการตรวจคนเขา้ เมือง 5 ที่ปฏิบัติงานในปงี บประมาณ 2557 จำนวน
327 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย
ค่าความถี่ ค่าร้อยละ บรรยายข้อมูลพื้นฐานของประชากรและใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติคทวิ วิเคราะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อพยากรณ์ว่าตัวแปรใดส่งผลต่อปัญหาและเพิ่มโอกาสในการเกิดปัญหาและอุปสรรค
ในการควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ แล้วนำผลการวิจัยที่ได้จากการวิจัย
ทั้ง 2 แบบมาวิเคราะห์สรุปบรรยายเชิงพรรณนา เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนี
เข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติของกองบังคับการ
ตรวจคนเข้าเมือง 5 มีสภาพปัญหาและอุปสรรคในด้านการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของนายจ้างและสถานประกอบการ
ไม่สามารถควบคุมการทุจริต การไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเหมาะสม การไม่สามารถผลักดันและ
ส่งกลับแรงงานและการไม่สามารถควบคุมและตรวจสอบแรงงาน ( =3.48, 3.47, 3.08, 3.01 และ 2.91 ตามลำดับ)
2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ
ของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5 ประกอบด้วยการแสวงหาผลประโยชน์ (B = .504) ความไม่สอดคล้องในการนำ
นโยบายไปปฏิบัติ (B = .492) การบิดเบือนการจ้างงาน (B = .290) และ 3) แนวทางที่เหมาะสมในการควบคุม
แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนานโยบายในการแก้ไขปัญหาและต่อการเพิ่มบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับ
การควบคุม และตรวจสอบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ มาตรการการลงโทษนายจ้าง
และสถานประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์
การใช้ดุลยพินิจในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมตลอดจนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
The objectives of this research were to 1) study the nature of problems and obstacles in the
controlling post nationality verification migrant workers in Immigration Division 5, 2) to study factors
affecting the problems and obstacles in the controlling post nationality verification migrant workers in
Immigration Division 5, and 3) to find appropriate means in controlling migrant workers who passed
nationality verification of Immigration Division 5. This research used a combination of research methods,
was qualitative and quantitative. The first phase is Qualitative Research Techniques, the study data were
collected through informal discussion and in-depth interview selecting from the immigration officers who
dealt with controlling the migrant workers having passed nationality verification not less than three
consecutive years for a total of 14 samples. The second phase is the Quantitative Research Techniques,
use questionnaires to collect data from Immigration officers under the supervising and controlling of
Immigration Division 5, who performed the duty in fiscal year 2557 for a total of 327 samples. The qualitative
research analyzed by descriptive approach, quantitative research analyzed by descriptive statistics
consisting of mean, frequency and percentage, describing the respondents’ data on their personal
backgrounds and using Binary Logistic Regression Analysis for analyzing relations between diverse
variables so as to prophesy the variables that were prone to affect the problems and step up an
opportunity for causing the problems and obstacles in controlling the foreign migrant labor who passed
the nationality verification. Results of the two types of the above-mentioned research were analyzed and
concluded as descriptive report to find appropriateness in controlling the migrant workers passing the
aforesaid nationality verification.
Results of the research showed that 1) the controlling of migrant workers passing the nationality
verification of Immigration Division 5 encountered the nature of the problems and obstacles in abstaining
from observing the law of employers and workplaces, including inability to control corruption, inability to
succeed in law enforcement, inability to push and repatriate the labor, and inability to control and monitor
the labor ( =3.48, 3.47, 3.08, 3.01 and 2.91, respectively); 2) the factors affecting the problems and obstacles
in the controlling post nationality verification migrant workers in Immigration Division 5 included the benefit
seeking (B = .504), inconsistency of putting the policy into practice (B = .492), and insinuation of the
employment (B = .290); and 3) with regard to appropriate ways for controlling the migrant workers passing
nationality verification of Immigration Division 5, the authority concerned had to prioritize the policy development
in solving the problems and adding more legislation related to controlling and monitoring the foreign migrant
labor passing nationality verification, including the measures for punishing the employers and workplaces
that violated the law, the performance of the officers using their authority to seek personal benefits, and
using appropriate and fair judgment in law enforcement, inclusive of the application of information technology.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5. (2556). บรรยายสรุป : ผลการปฏิบัติงานของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5. (เอกสารประกอบการประชุม)
กฤตยา อาชวนิจกุล และกุลภา วจนสาระ. (2552). การจ้างแรงงานข้ามชาติตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 กับการจัดทำบัญชีรายชื่ออาชีพ สำหรับคนต่างชาติ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
กัลยา วานิชย์ปัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมการจัดหางาน สำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว. (2556). ข้อมูลทางสถิติ.
ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2556, จาก http://wp.doe.go.th
คลังสมองวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเพื่อสังคม. (2555). การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง. ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2555, จาก http:// www.ndcthinktank.com
ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่. (2556). บรรยายสรุปของผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ในการประชุมประจำเดือนมีนาคม 2556 : การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง.(เอกสารอัดสำเนา).
สภาทนายความ คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น. (2554). นโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิรักษ์ไทย
สุภางค์ จันทวานิช. (2555). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริยา สมุทคุปติ์ และพัฒนา กิติอาษา. (2538). มานุษยวิทยากับโลกาภิวัตน์.
ค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.bcnpb.ac.th/110.170.26.210
สาโรจน์ คมคาย. (2553). วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). บัญชีประชาชาติ.ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2557, จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/account/ni/cvm/
/Book_NI_2013.pdf
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน. (2554). รายงานการย้ายถิ่นของประเทศไทย 2554. กรุงเทพฯ : เอฟ เอส พี เน็ทเวิร์ค.