การใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

อรทัย อินตา

Abstract

บทคัดย่อ  

                       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ศึกษาความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงต่อความสามารถในการเรียนแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา  และศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา CI 4603 วิธีสอนในชั้นประถมศึกษา 1  ประจำภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2557  จำนวน 46 คน  เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนบริหารการสอน เรื่อง การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน 18 ชั่วโมง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  แบบสอบถามความคิดเห็นครูพี่เลี้ยงต่อความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  และแนวทางการสนทนากลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยประเด็นคำถาม 5 คำถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (xˉ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยวิเคราะห์ด้วยสถิติ t- test  และวิเคราะห์เนื้อหา

                         ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

                         1.   นักศึกษาที่เรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                         2.   ครูพี่เลี้ยงมีความคิดเห็นต่อความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด

                         3.   นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม และกระบวนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น   มีความเห็นว่าการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความเหมาะสมแต่ก็มีการเสนอวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอื่นบ้าง มีความมั่นใจการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เมื่อไปทดลองสอนในสถานศึกษา ปัญหาที่พบ อาทิ การขาดความรับผิดชอบและรูปแบบแผนไม่ตรงกัน เป็นต้น

ABSTRACT

                         The purpose of this research were to study achievement in writing lesson plans, The attitudes of teachers towards students the ability to lesson plan for students, and the attitudes of students towards learning using cooperative learning method. The samples was 46 4th year Elementary Program students who enrolled subjects CI 4603 Methods of Teaching in Elementary Education in 1st semester of academic year 2014. The research instrument was consisted of  instructional management plan of lesson plan design for 18 hours, Achievement test in writing lesson plans, The questionnaires for teachers on the ability to write lesson plans, and the focus group consisting of five questions. The data analysis was included percentage (%), average (), standard deviation (S.D.),  standard deviation of the pre-test and post-test analysis with statistical t- test and content analysis.

                         The results were as follows:

                         1.   Students using cooperative learning method had higher academic achievement scores than before using cooperative learning method at statistical significance . 05

                         2. The teachers thought with lesson plan writing ability for elementary student program that most level.

                         3.   Students learn the process of groups working and lesson plans. Their ability to write lesson plans is increased. The use of cooperative learning method is appropriate, but it has been offering other learning method. They are confident in writing lesson plans for the experimental teaching in schools. The problem encountered is the lack of accountability in the working group. Problems such as a lack of irresponsible and the lesson plan  pattern does not match , etc.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

อรทัย อินตา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คณะครุศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

นางสาวอรทัย  อินตา

เกิด  10  ตุลาคม  2521 

ประวัติการศึกษา

ปริญญาโท                มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   ศษ.ม.(การสอนสังคมศึกษา)

ปริญญาตรี               สถาบันราชภัฏเชียงใหม่   ค.บ.(การประถมศึกษา)

References

กุณทรี เพ็ชรทวีพรเดช และคณะ.(2552).สุดยอดวิธีสอนวิทยาศาสตร์ นำไปสู่...การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ.(2552).เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 11. นนทบุรี : ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.

ทิศนา แขมมณี.(2550). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มลาวัลย์ นกหงส์. (2552).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถการคิดวิเคราะห์เรือง โจทย์ปัญหาทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทีเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการจัดการเรียนรู้ตามคู่ มือครู สสวท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.(2555).คู่มือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วิคตอเรีย ขมิ้นเขียว.(2550).การใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟัง-พูด และทักษะสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของนักเรียนระดับต้น.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริพร ขีปนวัฒนา.(2551). หลักการจัดการเรียนรู้. เชียงใหม่ : สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน.

สนิท สัตโยภาส.(2547).กระบวนการเรียนรู้ชูผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : องค์กรการค้าของคุรุสภา.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และจินตนา วีรเกียรติสุนทร.(2556).การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

Tan,Xiaoqing. A Research on the Application of Cooperative Learning in Rural Middle School English Teaching. College of International Studies, Southwest University, China. Journal of Language Teaching and Research, Vol. 6, No. 4, pp. 847-854, July 2015. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฏาคม2558 จากhttp://dx.doi.org/10.17507/jltr.0604.19.