ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพกำไรและความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพกำไรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2554 ยกเว้นกลุ่มธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์ ประกันชีวิต และประกันภัย โดยใช้การวิเคราะห์คุณภาพกำไร 4 เทคนิค คือ ความเพียงพอของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ดัชนีเงินสดจากการดำเนินงาน และ รายการคงค้างรวม 2 เทคนิค ทำการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพกำไรกับตัวแปรที่กำหนด พบว่า ประเภทธุรกิจมีความสัมพันธ์กับคุณภากำไรในทิศทางตรงข้ามเฉพาะการวัดคุณภาพกำไรจากรายการคงค้างรวม ขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับคุณภาพกำไรเฉพาะการวัดคุณภาพกำไรจากรายการคงค้างรวม และอัตราส่วนหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับคุณภาพกำไรเฉพาะการวัดคุณภาพกำไรจากความเพียงพอของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ส่วนขนาดของสำนักงานสอบบัญชี และประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีทุกเทคนิคตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพกำไร
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
ช่อทิพย์ โกกิม. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2545). ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
ทัศราพรรณ เทียรฆโรจนกุล. (2553). คุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน SET50. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธิดา อู่ทรัพย์เจิรญชัย. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับรายงานของผู้สอบบัญชี. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพชรี ขุมทรัพย์. (2534). วิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภคสุนาท จิตมั่นชัยธรรม. (2545). คุณภาพกำไรกับผลตอบแทนของหุ้น: การศึกษาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2543). คุณรู้จัก Creative Accounting และ คุณภาพกำไรแล้วหรือยัง?. กรุงเทพมหานคร: ไอโอนิค อินเตอร์เทรด รีซอสเซส.
สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2548). เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน การวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2552). แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2555, จาก http://accdept.tapee.ac.th/download/Framwork.pdf
สรรพงศ์ลิมป์ธำรงกุล. (2547). คุณภาพกำไรของธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติเพรส.
Abdelghany, K. (2005). Measuring the quality of earnings. Managerial Auditing Journal. 2005, (20), 1001-1015.
Barton, J., Simko, P.J. (2002). The balance sheet as an earnings management constraint. The Accounting review. 2002,(77), 1-27.
Cornell, B., Landsman, W. (2003). Accounting Valuation: Is Earnings Quality an Issue?. Financial Analysts Journal. 2003. (59), 20-28.
Francis, J., Krishnan, J. (1999). Accounting Accruals and Auditor Reporting Conservatism. Contemporary Accounting Research. 1999, (16), 135-165.
Gibson, C.H. (1995). Financial Statement Analysis: Using Financial Accounting Information. Cincinnati, Ohio: South West College Publishing.
Leuz, C., D. Nanda, and Wysocki, P. (2003). Earnings management and investor protection: an international comparison. Journal of Financial Economics. 2003, (69), 505-527.
Pearlman, Leslie. (1978). Quality of Earnings. Harvard Business School.
Penman, S.H. (2007). Financial reporting quality: Is fair value a plus or a minus?. Accounting and Business Research. 2007, (37), 33-44.
Richardson, S. et al. (2001). Information in Accruals about the Quality of Earnings. University of Michigan Business School.
Richardson, S.A. (2003). Earnings Quality and Short Sellers. Accounting Horizons. 2003, 49-61.
Siegel, Joel G. and Shim, Jae K. (1981). Quality of earning: A key factor in financial planning. Long Range Planning. 1981, (14), 68-75
Sloan, Richard G. (1996). Do stock prices fully reflect information in accruals and cash flows about future earnings?. The Accounting Review. 1996, (71), 289-315.