ผลกระทบของพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ต่อธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ต่อธุรกิจประกันวินาศภัย ในประเด็นที่เกี่ยวกับการกำหนดการถือหุ้นของกรรมการที่มีสัญชาติไทย และบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดมีสัญชาติไทย รวมทั้งนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย และสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นส่วนที่ถือเกินมิได้ ตลอดทั้งศึกษาถึงผลกระทบของโครงสร้างของผู้ถือหุ้นในกรณีการแก้ไขสัดสวนของผู้ถือหุ้นหรือกรรมการให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 มาตรา 9 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวิธีการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 หนังสือเรียน วารสาร
จุลสาร แผ่นพับประชาสัมพันธ์ เว็ปไซด์ และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในธุรกิจประกันวินาศภัยจำนวน 2 ท่าน คือ (1) คุณกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย (2) คุณบังอร จิระวรสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจประกันภัยทั่วไป บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาขน) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและเสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความชัดเจนต่อไป
จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยต้องมีกรรมการซึ่งมีสัญชาติไทยไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด หรือกรรมการซึ่งมีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันเกินร้อยละเจ็ดสิบห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด แต่บริษัทประกันวินาศภัยทั้งหลายในประเทศไทยได้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยมาก่อนที่จะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ทำให้บริษัทประกันวินาศภัยไม่สามารถแก้ไขสัดส่วนการถือครองหุ้นของกรรมการและผู้ถือหุ้นได้ เป็นเหตุให้เกิดการหลีกเลี่ยงกฎหมายโดยให้บุคคลธรรมดา หรือบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และหรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทยเข้ามาถือหุ้นแทน ส่งผลให้การลงทุนประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทยไม่สอดคล้องกับกลุ่มประชาคมอาเซียน ที่ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องเปิดเสรีการค้าบริการ (ภาคประกันภัยและการเงิน) ในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)
ดังนั้น สมควรให้ประเทศไทยรีบดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจำนวนกรรมการผู้มีสัญชาติไทย และสัดส่วนการถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นในบริษัทประกันวินาศภัยArticle Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กี่เดช อนันต์ศิริประภา. (2558, 5 มีนาคม). ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย. สัมภาษณ์.
บังอร จิระวรสุข. (2558, 20 สิงหาคม). ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจประกันภัยทั่วไป บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาขน). สัมภาษณ์.
ปกรณ์ นิลประพันธ์. (2556, มกราคม-กุมภาพันธ์). กฎหมายที่อาจต้องแก้เพื่อรองรับบทบาทใหม่ของภาครัฐในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. จุลนิติ. 62-68.
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย. (2547, 9 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121, ตอน 101 ง.
ฝ่ายพัฒนาบริษัทจดทะเบียน และฝ่ายนโยบายกำกับตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2556). แนวทางเบื้องต้นการควบคุมกิจการบริษัทจดทะเบียนต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
พจนีย์ ธนวรานิช. (2542-2543). เอกสารวิจัยส่วนบุคคล เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย ลักษณะวิชาการ เศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์ประกันภัย อังกฤษ-ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2547). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมาคมประกันวินาศภัย. (2557, 8 สิงหาคม). เดินหน้าธุรกิจประกันวินาศภัยสู่ความเข้มแข็งในอาเซียน. เอกสารประกอบการบรรยาย CEO Forum.
สมาคมประกันวินาศภัย. (ม.ป.ป.). วินาศภัยบรรเทาได้ด้วยการประกันภัย, ขนาดของบริษัทประกันภัย. เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพฯ: สมาคมฯ.
สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2550). เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย, วาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 57/2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปก.). (2557, 30 กันยายน). ข้อมูลสถิติประกันภัย หมวดการประกันวินาศภัย. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2557. จาก http://www.oic.or.th/downloads/statistics/Non-Life/Chairman_nlife_0957.pdf
สำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย. (2554, มกราคม-มีนาคม). ค่าสินไหมทดแทนจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ในออสเตรเลีย สูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ. จดหมายข่าว IPRB. (22), 3.
สำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย. (2554, มกราคม-มีนาคม). บริษัทประกันภัยในเอเชียแปซิฟิกได้รับยกย่องในความเป็นเลิศด้านการใช้ไอที. จดหมายข่าว IPRB. (22), 4.
สิทธิโชค ศรีเจริญ. (2528). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันภัย สมาคมประกันวินาศภัย ประจำปี 2528-29. กรุงเทพฯ: ประชุมทองการพิมพ์.
Anna Tipping. (2014). Insurance Regulations in Asia Pacific Ten things to know about 20 countries. Bangkok: Norton Rose Fulbright.
Thailand Insurance Cover News. (2555, สิงหาคม). บริษัทข้ามชาติ (ไทย). 14 (141), 11-49.