การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์สำหรับโซเชียลมีเดียด้วยเทคนิค สมการเชิงโครงสร้าง

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ รุกขรังสี
ศรันย์ นาคถนอม

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบแบบจำลองสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย โดยใช้วิธีการสำรวจโดยแบบสอบถามเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดียในประเทศไทย จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยเน้นที่สินค้าประเภทเสื้อผ้า ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างและทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาตัวชี้วัดได้จำนวน 17  รายการ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม เมื่อนำมาวิเคราะห์ปัจจัย และทำการสกัดปัจจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ได้ ปัจจัย 2 กลุ่ม และตัวชี้วัด 8 รายการ ได้แก่ สินค้ามีคุณภาพดี สินค้าราคาถูกกว่าท้องตลาด มีการบอกข้อมูลสินค้าอย่างละเอียด มีรูปถ่ายสินค้า สินค้าตรงตามต้องการ การตอบคำถามข้อสงสัย การประชาสัมพันธ์สินค้าอยู่เสมอ และการพบเห็นโฆษณาสินค้า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย และจากการวิจัยพบว่าค่าความผิดพลาดเชิงสัมพันธ์ของสมการเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์สำหรับโซเชียลมีเดียมีค่าเท่ากับ 6.30%

Article Details

Section
Research Articles

References

ทีมงาน sanook.com. (2554). สนุกดอทคอม เผยพฤติกรรมนักช้อปไทยนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ปี 2554. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2558, จาก http://corporate.sanook.com/th/news/1027/.

ทีมงาน tarad.com. (2558). ร้านค้าสุดฮิตในหมวดหมู่ยอดนิยม. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2558, จาก http://www.tarad.com/ranking.

ธนารักษ์ ไกรอ่ำ และสมชาย ปราการเจริญ. (2557). การพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้างเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 กรณีศึกษา เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. Nation conference on computing and information technology. 2557(ฉบับที่ 6), 516-521.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2546). โมเดลลิสเรลสถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย.กรุงเทพฯ: ภาควิชา วิจัยการศึกษา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมชาย ปราการเจริญ. (2551). การประมาณการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์เชิงโครงข่ายด้วยวิธีการเทียบเคียง. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.