แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาด กรณีศึกษากลุ่ม ชุมชนผู้ผลิตลำไยกวนโบราณ ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ธัญญารัตน์ ลิ้นฤาษี

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานทางด้านการตลาด และวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์ทางการตลาดในปัจจุบันของชุมชนผู้ผลิตลำไยกวนโบราณ ตำบลบ้านโฮ่งอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มีคำถามที่ใช้ในการวิจัยคือ สภาพการดำเนินงานด้านการตลาด และวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดในปัจจุบัน ของชุมชนผู้ผลิตลำไยกวนโบราณ ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน พฤติกรรมการซื้อลำไยกวนโบราณและความพอใจของผู้บริโภค เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของชุมชนเพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยผู้วิจัย
ได้สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภค (Questionnaire)  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือร้อยละ (Percentage) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการชุมชนผลิตลำไยกวนโบราณ ตำบลบ้านโฮ่งอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนจำนวน 8 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวแทนและเป็นแกนนำของกลุ่มผู้ผลิตลำไยกวนโบราณ ประชากรอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์ลำไยกวนโบราณ จำนวน 100 คน เป็นผู้บริโภคที่ได้ทดลองรับประทานผลิตภัณฑ์ลำไยกวนโบราณโดยเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ จังหวัดลำพูนและ
จังหวัดเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่

ผลการวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดในปัจจุบัน พบว่า 1) กลุ่มชุมชนผู้ผลิตลำไยกวนโบราณ
มีสภาพการดำเนินงานทางด้านการตลาดและ มีความรู้มากเพียงด้านเดียวคือกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติอร่อย สดใหม่ แต่ในด้านการตั้งราคาสินค้า การจัดหาช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดยังไม่เพียงพอ 2) กลุ่มผู้บริโภค ที่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์ลำไยกวนโบราณ เมื่อได้ทดลองรับประทานผลิตภัณฑ์ลำไยกวนโบราณ เมื่อได้ทดลองรับประทานผลิตภัณฑ์แล้วมีความพอใจด้านผลิตภัณฑ์ในเรื่องของรสชาติที่กลมกล่อม ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ราคามีความเหมาะสมกับปริมาณ แต่ยังหาซื้อได้ยาก
หากไม่ได้เดินทางมาจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ จึงสามารถสรุปผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชุมชนผู้ผลิตลำไยกวนโบราณนั้น ต้องมีการพัฒนาสภาพการดำเนินงานด้านการตลาดในเรื่องของช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกในการหาซื้อผลิตภัณฑ์และเพื่อให้กลุ่มชุมชนผู้ผลิตลำไยกวนโบราณสามารถดำเนินธุรกิจมุ่งไปสู่ความเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงต้องการให้ความรู้
การบริหารจัดการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพควบคู่ไปด้วย

Article Details

Section
Research Articles

References

ดนัยธัญ พงษ์พัชราทรเทพ.(ม.ป.ป.) . พฤติกรรมผู้บริโภค “ลำไยอบแห้ง” ในตลาดประเทศจีน ศูนย์ศึกษาและจัดการความรู้จีน-GMS วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2557, จากhttp://www.phtnet.org/article/view-article.asp?aID=65

ศิริอมร กาวีระ และสิรินี ว่องวิไลรัตน์. (2554). แนวทางการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน ด้านการตลาด:

กรณีศึกษา กลุ่มน้ำพริกเกษตรกรบานแม่ไข อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก. งานวิจัยเครือข่าย

สถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง. มหาวิทยาลัยลุ่มน้ำปิง.

ศูนย์ปฏิบัติเศรษฐกิจการเกษตร (AEOC)กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(2557). พื้นที่ปลูกและปริมาณการจำหน่ายผลผลิตลำไยในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือ.สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2557,จากhttp://www.oae.go.th/aeoc/sub/lumyai/index.php/th/pages/50

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน. (2556). ยกระดับคุณภาพ'ลำไย'เชียงใหม่-ลำพูนสู่ตลาดส่งออก.สืบค้นเมื่อ

พฤศจิกายน 2556,จากwww.moc.go.th/Lamphun

สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง.(ม.ป.ป.) .นโยบายการเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าOTOP.สืบเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2556, จากwww.lamphun.go.th/office_province/index_strategy.php