การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของกระเป๋าเศษผ้าประดิษฐ์ กลุ่มประดิษฐ์เศษผ้า บ้านบวกเปา ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เจนจิรา ขันแก้ว

Abstract

                การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของกระเป๋าเศษผ้าประดิษฐ์
กลุ่มประดิษฐ์เศษผ้า บ้านบวกเปา ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากผู้ผลิตกระเป๋าจำนวน 26 คน  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็น เพศหญิง ซึ่งมีอายุระหว่าง 50-60 ปี มีความรู้อยู่ในระดับประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 3,000 -3,500 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีระดับการผลิตที่แตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับปริมาณการสั่งซื้อแยกออกเป็นจำหน่ายในราคาขายส่ง ร้อยละ 40 และราคาขายปลีก ร้อยละ 60 ของปริมาณการประดิษฐ์จากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่ากระแสเงินสดรับสุทธิตลอดอายุโครงงาน 10 ปีเท่ากับ 7,955,805.84  บาท ระยะเวลาคืนทุน 3 ปี 8 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 2,325,229.85 บาท และ อัตราผลตอบแทนภายใน ร้อยละ 66.16 เป็นโครงการที่น่าตัดสินใจลงทุนเนื่องจากระยะเวลาคืนทุนอยู่ภายใต้อายุโครงการ และ มูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวกอีกทั้งมีอัตราผลตอบแทนภายในสูงกว่าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ

                The objective of this research was to study the Financial Cost – Benefit Analysis of Shred Artifact Products, Ban-Buag-Pao women’s Groups in Nhong-Yhang, Sansai, Chiangmai.Using deep interview via structured interviewing questionnaires to collect data from 26 members of the group.

The Result from the study found that there were 26 females interviewee at the age between 50-60 year old; interviewees’ education level are primary education, with the average income around 3,000 – 5,000 baht each month.  In each month the productivity was various, depend on quantity of the orders which is devided  into wholesale 40 percent and retail 60 percent.

The result from the cost – benefit analysis found that the net cash in total for 10 years was 7,955,805.84 baht, with 3 years 7 months for payback period. The net present value was 2,325,229.85 baht and the internal rate of return was 66.16 percent. Thus, this project was quite interesting for investment, because the payback time period covered under the project period and the net present was in positive and also can be able to earn higher internal rate of return.   

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

เจนจิรา ขันแก้ว, The Far Eastern University มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สาขาวิชาการบัญชี

อาจารย์เจนจิรา ขันแก้ว  อาจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น เชียงใหม่ ประเทศไทย

References

กมลวรรณ พิมพะปะตัง. ( 2551). ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตกระเป๋าหนังแท้ในจังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ไทยตำบล ดอท คอม. (2554). ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มประดิษฐ์เศษผ้า บ้านบวกเปา. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2555, จากhttp://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp?sme=041224151933&ID=501406&PROD=04122415229

ศิริลักษณ์ ชุมภูคำ. (2548) . ความเป็นไปได้ของการประกอบธุรกิจผลิตกระเป๋าจากเศษผ้าฝ้ายในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์ข้อมูลกลางกระทรวงมหาดไทยและจังหวัด. (2553). รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปี. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2553, จาก http://www.moi.go.th/MOIWEB/jsp/report/MRPN2103.jip