การใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของนักศึกษา สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

ศศิธร อินตุ่น

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษาของนักศึกษาหลังใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์ 2) ศึกษาความสามารถจดบันทึกคอร์เนลล์ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา EED 2102  ในภาคเรียนที่ 2/2557  จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่  1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผน และแบบบันทึกกิจกรรมการจดบันทึกคอร์เนลล์จำนวน 8 แบบ  2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความสามารถในการจดบันทึกคอร์เนลล์  แลแบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมระหว่างเรียนในด้านการปฏิบัติงาน และด้านคุณธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงบรรยายโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อเสนอแนะจากแบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนแบบปลายเปิด

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมจดบันทึกคอร์เนลล์ วิชาพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษามีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 15.96 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 24.04 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่านักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาเพิ่มขึ้น       

 


อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

E-mail: Sintoon 367058@gmail.com

 

 

         2.นักศึกษามีคะแนนความสามารถในการจดบันทึกคอร์เนลล์ จำนวน 8 กิจกรรม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระดับดีมาก ( = 20.07 ,SD =3.81 ) ด้านพฤติกรรมระหว่างเรียนในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมมีพฤติกรรมในระดับดี  ( = 14.68 ,SD =4.20 ) และด้านคุณธรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี( = 14.05 ,SD =4.04 )

         3.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนวิชาพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษาโดยใช้การจดบันทึกคอร์เนลล์โดยภาพรวมนักศึกษาเห็นด้วยในระดับสูง (    = 4.35, SD = 0.59) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อเสนอแนะปลายเปิดท้ายแบบสอบถามความคิดเห็นสรุปว่าการจดบันทึกจะง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้นถ้าเนื้อหาวิชาที่มีขั้นตอน ต้องใช้ทักษะการจับใจความสำคัญจากการฟังบรรยายและอ่านเอกสาร หรือการสิบค้นเพิ่มเติมจะทำให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้มากขึ้น

 

Abstract

        The  purposes of this research were 1) to evaluate  the students’ academic achievement in the course “ Development and Learning of Students in Elementary Education “ after using the Cornell  Note taking  activities, 2) to study  the students’ ability before and after learning  through using the Cornell  Note taking  activities,  and 3) to study students’ opinions after using the Cornell  note taking activity. The  sample  was 53  Elementary  program students who enrolled in the EED 2102 course in the second semester of academic year 2014 at  Elementary  program, Faculty of Education, Chiang- Mai  Rajabhat university.

        There were two types of data collecting and research  instruments. The first type was designing and implementing the lesson, which consisted of 9 lesson plans using the Cornell  note taking  activity and  8  Cornell  note taking  activity  forms. The second type was collecting data ,which consisted of the academic achievements tests, the students’ abilities in using the Cornell note in  evaluation forms and students’ opinions for using the Cornell.

        The statistical data were  analyzed  by descriptive statistics using mean, standard deviation. The qualitative data were analyzed by content  analysis.              

        The  research  results  were  as  follows: 

         1. After the students learnt through using the Cornell  note taking  activities, in the course “Development and Learning of Students in Elementary Education” their  pretest scores were 15.96 and posttest scores were 24.04. In  comparision, between pretest and posttest scores found that  their  academic achievement scores were higher at statistical significant .05. In conclusion, students had more knowledge and understood in content.

        2. Their ability’s score in 8 the Cornell  note taking  was passed  criterion at very good level ( = 20.07,SD =3.81 ) the most students’ practical behaviors during the class sessions were at good level ( = 14.68 ,SD =4.20 ) and the most students’ morals were at good level

( = 14.05 ,SD =4.04 )

         3. The most students’ opinion through using the Cornell  note taking  activities, in the course “ Development and Learning of Students in Elementary Education”  their  scores were at high level. (    = 4.35, SD = 0.59). The qualitative data were analyzed by content analysis from an open-end questionnaire. In conclusion, the Cornell note taking made procedure in studying easier and faster. Students had to find the main idea from listening and reading. Their learning skills were increased.

 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ศศิธร อินตุ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ คณะครุศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาการประถมศึกษา

             ปี พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

             ปี พ.ศ. 2522- 2554  ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนกรป.กลางอุปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4.

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2542). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านทักษะการเรียน.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กิตติมา สาธุวงษ์. (2551). ประสิทธิผลการเรียนโดยใช้รูปแบบการจดบันทึกคอร์เนลล์ในวิชาการพยาบาล เด็กและวัยรุ่น2ของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยกองทัพเรือ.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดาภา ยั่งยืนและคณะ. (2554). การพัฒนาทักษะการเรียนในระบบการศึกษาทางไกลสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์.(2543). การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องทักษะการเรียนสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

ปณิดา มัณยานนท์. (2554). การใช้การจดบันทึกคอร์เนลล์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและความสนใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ. (2550). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4โดยใช้วิธีการจดบันทึกคอร์เนลล์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรชาติ อำไพ.( 2557 ) . “การจดบันทึก”,สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2556 จาก

www.stou.ac.th/offices/oes/oespage/guide/.../4.การจดบันทึก.pdf.

อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดีของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

Gettinger, M. and J. K. Seibert . (2002a). Contributions of Study Skills to Academic Competence.The SchoolPsychologyReview(Online).

www.vnweb.hwwilsonweb.com/hww/shared/main.jhtml;jsessionid=PEYYIPKI5TJCZQA3DIMCFGOADUNGIIV0?_requesti d=91407., June 15, 2006.

Kobayashi, K. (2006). Combined Effects of Note‐Taking/‐Reviewing on Learning and the Enhancement through Interventions: A meta‐analytic review. Educational Psychology,26(3), 459-477. doi:10.1080/01443410500342070 APA

Makany, T., Kemp J. &Dror I.E. (2008). Optimising the Use of Note-taking as an external cognitive aid for increasing learning. British Journal of Educational Technology,40(4).619-653. Doi:10.1111/j.1467-8535.2008.00906.x.

McKcachie,W. (2002). McKcachie s Teaching Tips. Boston: Houghton Mifflin.

Oxford, R.L. (1990). Language Learning Strategies: What Every Teacher Should Know Boston:Heinle&Heinle Publishers.

Pauk, W. (1974).How to study in college 2nd Edition.Boston : Houghton Mifflin

Stefanou,C., Hoffman,L. &Vielee, N. (2008). Note-taking in the college classroom as evidence of Generative Learning. Learning Environment Research, 11(1), 1- 17Doi:10.1007/s10984- 007-9033-0.

Tsai-Fu, T., &Yogan, W. (2010). Effects of Note-Taking Instruction and Note-Taking Languages on College EFL Students’ Listening Comprehension. New Horizons in Education,58(1),120-132. Retrieved from Education Research complete database.