แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

อรรนพ เรืองกัลปวงศ์
สราวรรณ์ เรืองกัลปวงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรี 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจคุณภาพในการให้บริการตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรี 4) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรีวิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดย1) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวตลาดน้ำทั้ง 3 แห่งในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ ตลาดน้ำวัดแสงสิริธรรม ตลาดน้ำไทรน้อย และตลาดน้ำวัดตะเคียน จำนวน 400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คนในพื้นที่ และผู้ประกอบการ โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว การบริหารจัดการท่องเที่ยวและความพึงพอใจคุณภาพในการให้บริการอยู่ในระดับมาก ส่วนแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการตลาดน้ำจังหวัดนนทบุรีคือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและจัดงบประมาณสนับสนุนในด้านต่างๆรวมทั้งส่งเสริมให้สื่อสารมวลชนเข้ามาจัดทำรายการเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำ อย่างไรก็ตามในส่วนของผู้ดูแลบริหารจัดการตลาดน้ำต้องสร้างความแตกต่างในการให้บริการและ
อัตลักษณ์ของตลาดน้ำ นอกจากนี้ยังต้องทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการรวมถึงสร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

This research aimed to 1) investigate the potential of the tourism floating market in Nonthaburi Province. 2) to study the management of the tourism floating market in Nonthaburi Province 3) the satisfaction in quality of the service of floating market in Nonthaburi Province. 4) find ways to improve the quality of the services of floating market in Nonthaburi Province. The study employed a mixed research strategy which both quantitative and qualitative research methodologies were used to analyze the data. 1) quantitative, the sample used in quantitative research is the 400 tourists who come to three floating market in Nonthaburi Province: Wat Seangsiritham floating market, Sainoi floating market, and Wat Takeian floating market. Data are collected from questionnaire and data were analyzed using descriptive statistical analysis: percentage, average, and standard deviation. 2) for qualitative research, contributors include community administration organization Locals people and entrepreneurs by selecting a specific number of nine persons were collected by questionnaires and interviews insights. The data was analyzed by content analysis.

The results showed that tourism potential, tourism management and customer satisfaction, quality of service are at a high level. The development guildelines of quality services market are the following:  government agencies should provide facilities and support in budgeting; encourage the media to prepare for promoting tourism market. However, the administrative management of the market have to make a difference in the service and identity of the market. You also need to understand the operators as well as network with other entrepreneurs.

 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

อรรนพ เรืองกัลปวงศ์, หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเลขานุการทางการแพทย์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

References

กนกพร ลีลาเทพินทร์, พัชญา มาลือศรี และปรารถนา ปุณณกิติเกษม. (2554, ตุลาคม - ธันวาคม). การประเมินระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลรัฐบาลในกรุงเทพฯด้วยแบบจำลอง SERVQUAL.วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ,(34), 4.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยว กันยายน 2557.สืบค้นเมื่อ18 ตุลาคม 2557, จาก http://www.tourism.go.th/home/details/11/222/23815.

กฤษฎา โชติช่วง. (2556). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: ผู้แต่ง.

จุไรรัตน์ กีรติบูรณะ. (2550). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการมาท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ อำเภอเมือง อำเภอศรีสวสดิ์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

ปิยะพงษ์ มั่นกลั่น. (2554). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำในจังหวัดนนทบุรีเพื่อการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรนภา ธนโพธิวิรัตน์. (2551). การเปรียบเทียบปัจจัยดึงดูดที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยท่องเที่ยวตลาดน้ำดอนหวายและตลาดน้ำวัดกลางคูเวียง.การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรวลัญช์ สจัจาภิรัตน์ และกฤช จรินโท. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาชุมชนทุ่งเพล ตำบลฉมัน อําเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. งานวิจัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันทิกา หิรัญเทศ. (2552). ปัจจัยทางการตลาดกับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยกรณีศึกษาตลาดน้ำไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี. งานวิจัย, วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ศันสนีย์ วุฒิยาภาธีรกุล.(2552, เมษายน).มาตรฐานการท่องเที่ยวยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยว.สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. For Quality, 15(138), 85-88.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2552–2554.รายงานข้อมูลจังหวัดนนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2557, จาก http://service.nso.go.th/ nso/web/statseries/statseries23.html

สืบชาติ อันทะไชย. (2554). การพัฒนาจัดการตลาดท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แบบบูรณาการเพื่อความยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย. วิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

อรุณพร อธิมาตรไมตรี, นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว, สุเทพ ทิพย์ธารา. (2556). เปรียบเทียบความพึงพอใจการบริหารด้านการท่องเที่ยวของตลาดน้ำคลองแหอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่ 4 วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 (521).

อนงค์ ไต่วัลย์ . (2555). การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำแบบยั่งยืน: กรณีศึกษาตลาดน้ำวัดตะเคียนอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี.งานวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อารยา อินคชสาร. (2554). การประเมินศักยภาพของตลาดน้ำวัดกลางคูเวียงเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุดม เชยกีวงศ์. (2552). ตลาดน้ำ: วิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญาสร้างสรรค์.

Chang, J-C. (2009). Taiwanese tourists' perceptions of service quality on outbound guided package tours: A qualitative examination of the SERVQUAL dimensions. Journal of Vacation Marketing, 15(2), 165-179.

Hwang, S-N., Lee, C. & Chen, H-J. (2003). The relationship among tourists’ involvement, place attachment and interpretation satisfaction in Taiwan’s national parks. Tourism Management, 26, 143-156.

Mai, N. K. & Nguyen, T. N. (2014).Factors Affecting Tourist Destination Satisfaction Through Mediating Variable of Perceived Service Quality – A Study in HO Chiminh City, Vietnam. International Conference on Business and Economic Research Proceeding.

Yamane Taro. (1973). Statistic: An Introductory. New York Harper and Row Publication.