การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

Main Article Content

เยาวทิวา นามคุณ
ฤตินันท์ สมุทร์ทัย

Abstract

การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์1) ข้อมูลทั่วไปของงานวิจัย 2) สภาพและปัญหาในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 3) องค์ประกอบของรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และ 4) แนวทางในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน   แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา การค้นคว้าอิสระและงานวิจัยของอาจารย์และนักวิชาการที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในซึ่งเป็นงานวิจัยที่แล้วเสร็จและตีพิมพ์ในระหว่างปีพ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 153 เรื่องโดยงานดังกล่าวได้มาจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ThaiLIS (Thai Digital Collection)ซึ่งเป็นฐานข้อมูลงานวิจัยฉบับเต็ม ที่ได้รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยเครื่องมือการวิจัยได้แก่แบบบันทึกผลการวิเคราะห์รายละเอียดของงานวิจัย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการสังเคราะห์พบว่า  ผลงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ทั้งหมดประกอบด้วยผลงานวิจัยระดับปริญญาเอก 7 เรื่อง  ระดับปริญญาโท 145 เรื่อง และงานวิจัยทุนของอาจารย์ 1เรื่อง  โดยส่วนใหญ่เป็นผลงานวิจัย
ของสาขาบริหารการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาผลการดำเนินการและแนวทางการพัฒนางานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงบรรยาย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้บริหารและครูเป็นหลักโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบว่าสภาพผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในประกอบด้วย กระบวนการควบคุมคุณภาพ กระบวนการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ
และกระบวนการประเมินคุณภาพ โดยภาพรวมผู้บริหารและครู มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
ถึงระดับมากโดยมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 3 ด้าน ได้แก่
ด้านการบริหารด้านบุคลากรและด้านปัจจัยสนับสนุน ปัญหาที่สำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสรุปได้ทั้งหมด 6 ประเด็นคือ 1) บุคลากรขาดความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษา  2)ขาดการทำงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและมีการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการพัฒนาน้อย  3)ขาดแคลนงบประมาณ  4)ขาดความร่วมมือและให้ความสำคัญกับชุมชนน้อย  5) การบริหารระบบสารสนเทศขาดประสิทธิภาพ และ 6)ขาดเครื่องมือประเมินที่หลากหลายการใช้รูปแบบในการประเมิน
ไม่เหมาะสมกับบริบทสถานศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พบว่าประกอบด้วย4 องค์ประกอบดังนี้  1)เป้าหมายของรูปแบบการประกันคุณภาพภาพการศึกษาภายใน ฯ 2) มาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ฯ  3) การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบ  วิธีควบคุมคุณภาพ  วิธีตรวจสอบคุณภาพ วิธีประเมินคุณภาพและเกณฑ์การประเมิน และ 4) รายงานผลและการกำหนดแนวทางในการพัฒนาผลการสังเคราะห์แนวทางในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในพบว่าประกอบด้วย 12 แนวทาง จำแนกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านบุคลากร มี 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1.1) อบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักในคุณค่าของการประกันคุณภาพภายใน1.2) พัฒนาด้านเทคนิควิธีการสอน การวัดประเมินผลและการวิจัยชั้นเรียน 2) ด้านการบริหารจัดการ มี 7 แนวทาง ประกอบด้วย 2.1) บริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร  2.2) บริหารจัดการโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน  2.3) วางแผนงานโดยจัดทำโครงการให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา  2.4) จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับโครงการอย่างเหมาะสม  2.5) ดำเนินการและติดตามผลตามวงจร PDCA  2.6) จัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอเหมาะสม และ 2.7) ประเมินติดตามผลแล้วดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 3) ด้านสนับสนุนอื่น ๆ มี 3 แนวทางประกอบด้วย 3.1) พัฒนาฐานข้อมูลของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ 3.2) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและ 3.3) พัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายใน คู่มือการใช้งานรูปแบบ ฯให้เหมาะสมกับองค์กรและบุคลากรให้มากขึ้น

The purposes of synthesis of this researchwere 1) to synthesize the general data researches 2) to synthesis status and problems of internal educational quality assurance model 3) to synthesis factors of internal educational quality assurance model 4) to synthesis the guidelines to develop internal educational quality assurance. The data resource of this study were 153 thesis of graduate, Independents study and lecturer’s research and educators that studied about internal educational quality assurance during 1999-2012 all . All 153 researches were full text downloaded from ThaiLIS (Thai Digital Collection) in all around Thailand’s university.  The research instrument was research analysis record. The data was analyzed by using frequency, percentage and content analysis. The synthesis of 7doctorate degree researches, 145 master degree researches, and 1 university’s lecturer.  The result of synthesize the general data researches were: 1) most of the researches were in educational administration area 2) the purposes of the researches were to find out present situation,

result of complementation, and guidelines to develop internal educational quality assurance
3) most of the researches were in descriptive research from 4) collected data from administrators, and teachers who responded for internal educational quality assurance system 5) the research instruments were questionnaires  and 6) the data was analyzed by using frequency, percentage , mean and standard deviations. The result of synthesis present situation and problems of internal educational quality assurance found that: the totally complementation of internal educational quality assurance was in middle to high level. The factors that support to quality of internal educational quality assurance system were administration factor, staff factor, and supporting factor. There were 6 important problems in complementation of internal educational quality assurance that were: 1) the staffs did not have knowledge and internal educational quality assurance 2) there was not system in working and did not use feedback data to improve the system 3) there was lack of budget to improve internal quality assurance 4) there was lack of participation from community and others 5) the school did not have effective in information technology and 6) the school did not have variety tools to evaluated and models to evaluate did not fit the school context. The result of synthesis factors of internal educational quality assurance found that: 1) model’s purposes of internal educational quality assurance 2) standards and indicators of internal educational quality assurance 3) the complementation of internal educational quality assurance according to standards and indicators consist of persons who responded for the controlling system, the methods of controlling for qualities, the methods of checking for qualities, the methods of evaluating for qualities, and the criterion of evaluating.

The result of synthesis the guidelines to develop internal educational quality assurance found that there were 12 guidelines form into 3 part included 1) personal which have 2 guidelines include 1.1) train and raising awareness about the value of internal assurance and 1.2) develop technical of teaching, assessment and classroom research. 2) Management which have 7 guidelines include 2.1) manage by participation of staff 2.2) manage by participation of parents and community 2.3) plan the project according to standards and indicators of education quality 2.4) set activity according to project 2.5) implement and audit by PDCA cycle 2.6) set sufficient budget and 2.7) assessment and revising continuous. 3) Other support which have 3 guidelines include 3.1) develop school information system 3.2) promoting cooperation between schools and 3.3) construct internal quality assurance model , and handbook of model that suitable with school and staff.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

เยาวทิวา นามคุณ, หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักศึกษาปริญญาเอก สาขา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์. (2549). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน : การประเมินแบบเสริมพลัง. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาชาวิชาการทดสอบและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ทัศนีย์ สหวัฒน์. (2540). จากความล้มเหลวสู่ความสำเร็จ. แปลจาก From Failure to Success. ของ OFSTED. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

ทิภาวรรณ เลขวัฒนะ. (2551). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยวิธีการเทียบเคียงสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

มงคล ไชยธงรัตน์. (2551). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในด้านการบริหารและการจัดการศึกษาของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

ไมตรี บุญทศ. (2554). การพัฒนารูปแบบบริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการ บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบาลราชธานี

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). เอกสารประกอบการประชุมอบรมพัฒนาผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาปฐมวัยสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดริมปิงการพิมพ์.

วาสนา แสงงาม. (2543). รูปแบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เสาร์วันดี ผ่านเมือง. (2544). การศึกษารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ วิทยาลัยเทคนิค เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี

สุจิตรา พะหงษา. (2544). การศึกษารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต ปริญญาครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.

สุเทพ ชิตยวงษ์. (2551). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรที่กำกับติดตามการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2543). การวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). คู่มือการประเมินผลภายในของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษา : การออกแบบระบบการประเมินผลภายใน. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

นงลักษณ์ วิรัชชัย, สุวิมล ว่องวาณิช. (2542). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา = A Sythesis of research in education using meta-analysis and content analysis. กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

อุทมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย : เชิงปริมาณเน้นวิธีวิเคราะห์เมต้า. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.