การนำนโยบายการบริหารงานโรงพยาบาลไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนำนโยบายทางการบริหารของโรงพยาบาลกรุงเทพไปปฏิบัติกับโรงพยาบาลในเครือ โดยเฉพาะในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา คือ โรงพยาบาลรอยัลอังกอร์อินเตอร์เนชั่นแนล และโรงพยาบาลรอยัลพนมเปญ โดยประยุกต์เกณฑ์มาตรฐาน HA และ JCI เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย และเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ และมีข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถามผู้ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลรอยัลอังกอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำนวน 387 คน และ โรงพยาบาลรอยัลพนมเปญ จำนวน 396 คน เป็นส่วนประกอบ
ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการให้บริการในแผนกผู้ป่วยนอกโดยรวม เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน HA และ JCI ที่กำหนดเป็นนโยบายจากโรงพยาบาลกรุงเทพ ประเทศไทย และสามารถสะท้อนได้จากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่และความพึงพอใจของผู้รับบริการซึ่งอยู่ในระดับสูง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน คือ การมีผู้บริหารที่ได้รับมอบนโยบายโดยตรงจากโรงพยาบาลกรุงเทพ ประเทศไทย รวมทั้งการกำหนดและจัดวางระบบและกระบวนการทำงานก่อนที่จะมีการเปิดให้บริการของแผนก และมีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
ขวัญตา น้อยเจริญ. (2552). คุณภาพการให้บริการของคลินิกนอกเวลาราชการ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นพรัตน์ พาทีทิน และ มนฑกานต์ วรนิติกุล. (2558). ระบบบริหารราชการของราชอาณาจักรกัมพูชา. นนทบุรี: กรกนกการพิมพ์.
Koeck, C. M. (1997). Doing Better: A Global Medical Interest, In V. A. Kazandjian (Ed.). The Effectiveness of CQI in Health Care: Stories from a Global Perspective. Milwaukee, Wisconsin: ASQC Quality Press.
Parazuraman, A. ; Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1990). Delivery Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: Free Press.
Shortell, S. M. & Kaluzny, A. D. (2000). Organization Theory and Health Services Management, Chapter 1, Health Care Management: A Text in Organization Theory and Behavior (4th ed.). New York: Delmar.
Spitzer, R. B. (1988). Meeting Consumer Expectations. Nursing Administration. 12(3), 31-39.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper.
Zeithaml, V. A. & Bitner, M. J. (2000). Service Marketing. Singapore: McGraw-Hill.
Zinelden, M. (2006). The quality of healthcare and patient satisfaction: An exploratory investigation of the 5Qs model at some Egyptian and Jordanian medical clinics. International Journal of Health Care Quality Assurance. 19(1), 60-92.