การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยการบูรณาการการเรียนการสอน กับการบริการวิชาการและงานวิจัย กรณีศึกษา: กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านต้นงิ้ว หมู่ที่ 2 ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่*

Main Article Content

ศิริอมร - กาวีระ

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาสัมมนา หัวข้อการประกอบการเข้ากับการบริการวิชาการ และการวิจัย ของภาควิชาการประกอบการ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น และ 2)ศึกษาผลของการบริการวิชาการและงานวิจัย
ในรายวิชาสัมมนาหัวข้อการประกอบการต่อกลุ่มผู้สูงอายุ บ้านต้นงิ้ว หมู่ที่ 2  ตำบลสันผักหวาน
อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่  เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี(Mix Method Research ) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้นำชุมชน จำนวน 4 คน สมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุ  จำนวน 7 คน  และ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามใช้เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ และ
แบบสรุปความใช้เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย 
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสังเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เนื้อหา   ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาสัมมนา หัวข้อการประกอบการเข้ากับการบริการวิชาการและ

การวิจัย เป็นกระบวนการที่ใช้วงจรคุณภาพ (PDCA) คือ Panning (การวางแผน) การวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยระบุกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ ขั้นตอนการบริการวิชาการและการวิจัยในแผน
การสอน Doing (การปฎิบัติ) จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเข้ากับการบริการวิชาการ
และการทำวิจัย  Check  (ขั้นตอนการตรวจสอบ )นักศึกษารายงานผลการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน วัดและประเมินผลการเรียน  การบริการวิชาการและการวิจัย  โดยการติดตามการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการและงานวิจัย  และAction (การนำข้อมูลกลับไปพัฒนา/ไปใช้ต่อ) โดยนำผลการจัดโครงการ/กิจกรรมการบริการวิชาการ และผลงานวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนและ
มอบให้ชุมชน  2) ผลของการบริการวิชาการและงานวิจัยในรายวิชาสัมมนาหัวข้อการประกอบการ พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดโครงการบริการวิชาการทุกครั้งในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากเป็นอันดับแรก คือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้จริง  รองลงมา  คือ โครงการกิจกรรมตรงตามความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มผู้สูงอายุ และได้รับความรู้  ทักษะและประสบการณ์ใหม่จากโครงการและกิจกรรมนี้ ส่วนประโยชน์ของการบริการวิชาการและงานวิจัยต่อสมาชิกในกลุ่มผู้สูงอายุ คือทำให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุดีขึ้นทั้งในด้านสังคมทำให้สมาชิกผู้สูงอายุ  มีเพื่อนฝูงมากขึ้น  ได้พบปะพูดคุยซึ่งกันและกัน ช่วยให้ผู้สูงอายุ ขจัดความเหงา ทำให้ไม่เครียด มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น อีกทั้งสร้างความสามัคคีปรองดอง และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ด้านเศรษฐกิจทำให้ผู้สูงอายุมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำเงินมาจุนเจือครอบครัวได้ดีขึ้น และด้านความเป็นอยู่ คือ  มีสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยลูกหลานอย่างเดียว มีทัศนคติเชิงบวกในการใช้ชีวิต และเป็นการสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง

                The purposes of the research seemed to investigate  1) the processes of the teaching and learning integration in the subject of Seminar under the topic “The Entrepreneur” integrating the academic services and the research carried out by Entrepreneur major, in the faculty of Business Administration, Far Eastern University, and  2) to explore the academic services results and the research in the subject of Seminar under the topic “The Entrepreneur” towards the elderly group of Bantonngio, Village No. 2 Sanphakwan Sub-District, Hangdong District, Chiangmai Province. The research seemed to be the mixed method Research. The target groups of this research were 4 community leaders and7 members of the elderly group.  The data collecting method were interview form and questionnaires for collecting the primary data, and summary forms for collecting the secondary data. The collected data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation content synthesis and content analysis. The research found that; 1) the processes of the teaching and learning integration in the subject of Seminar under the topic “The Entrepreneur” integrating the academic services and the research seemed to be the PDCA cycle for Planning – planning the teaching and learning management by identifying activities / academic services projects and stages of the academic services and the research in the teaching plans, Doing – preparing the integrated teaching and learning with the academic services and the research, Controlling – the students reported the results of all stages of the performance, measurement, and evaluation of the academic services and the research, including the evaluation of the utilization of the academic services and  the research, and Action – applying the academic services results and the research to teaching and learning, including giving the academic services results and the research to  the community 2) the academic services results and the research in the subject of Seminar under the topic “The Entrepreneur”, it was found that; on the whole, the satisfaction of the elderly group on the academic services seemed to be at the highest level.  When each side was considered that had arithmetic means with descending order, it was found that all of them were at the highest e whole,  services and       level; that is, applying the academic knowledge to real world situations, meeting the demand and the expectation of the elderly group, and getting new knowledge, skills, and experience from the projects respectively. The benefits of the academic services and the research towards members of the elderly group seemed to improve the quality of life of the elderly group. In the side of the society, the academic services results and the research seemed to be very useful for the elderly group because they can give the elderly group the opportunity to have more friends and talk together to make them relax, including increasing the unity and good relationships ofthe elderly group. In terms of economic, it can be said that the academic services and the research can help the elderly group gain more money for their family. Moreover, the academic services and the research can increase positive attitudes for living and build self-esteem in the elderly group.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ศิริอมร - กาวีระ, THE Far Eastern University มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

จบระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจ

หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการ/คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเมอร์น

References

คณะเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ . (2555). แนวทางการบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียน

การสอนและงานวิจัย. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก.

ธนพรรณ ธานี. (2556). รายงานการจัดการความรู้การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการ สอนและงานวิจัย.อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ. (2551). พัฒนาแนวทางและรูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง

เชิงรุก.ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริอมร กาวีระ. (2556). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาสัมมนาหัวข้อการประกอบการ.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น (2556). แผนกลยุทธ์การบริการวิชาการแก่สังคมระยะ 5 ปี(ปีการศึกษา

-2559)

วันเพ็ญ ปัณราช. (2552). การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน . ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สาขาวิชาการประกอบการ.(2556). รายงานการดำเนินงานสัมมนาหัวข้อการประกอบการ โครงการผลิต

พวงหรีดดอกไม้จันและดอกไม้กระดาษหลากสี.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

สาขาวิชาการประกอบการ.(2556). รายงานการดำเนินงานสัมมนาหัวข้อการประกอบการ โครงกาการเพิ่ม เทคนิคในการทำพวงหรีดดอกไม้จันผู้สูงอายุ บ้านต้นงิ้ว .เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

สิงหา ธนศุภานุเวช. (2556). ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ทำงานกับไม่ได้ทำงาน.นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา, กรุงเทพฯ:สำนักงาน.

สิรีรัตน์ เชษฐสุมน.และคณะ(2551).แนวทางการบริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ ของสำนักส่งเสริมและ ฝึกอบรมกำแพงแสน.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริอมร กาวีระ. (2556). แนวทางการประกอบการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ บ้านต้นงิ้ว ตำบลสัน ผักหวาน อำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

ศิริอมร กาวีระและคณะ. (2556). ความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาการผลิตดอกไม้จันทน์ หมู่ 2บ้านต้นงิ้ว ตำบลสัน ผักหวาน อำเภอหางดงจังหวัด เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

ศิริอมร กาวีระและคณะ. (2557). การบริการวิชาการที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ บ้านต้นงิ้ว ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (มปป.).คู่มือการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2558 . สืบค้นจาก, http://cas.kbu.ac.th/manual/doc_1.pdf.