สภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอน และปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ประชากรเป็นครูไทยที่สอนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 จำนวน 42 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม ครอบคลุมเนื้อหา 5 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา
ด้านการจัดกิจกรรม ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดผลประเมินผล และด้านนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนของครูไทย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยรวมในทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีระดับการปฏิบัติที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านเนื้อหา ส่วนด้านอื่นๆ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้งหมด ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านสื่อการสอน ด้านนักเรียน และด้านการจัดกิจกรรม ตามลำดับ การจัดการเรียนการสอนที่ครูไทยพบว่าเหมาะสมกับนักเรียนและเป็นรูปแบบที่ใช้กันมากที่สุด
คือ การเรียนรู้แบบ Project-Based Learning ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะแก่นักเรียนและเชื่อมโยงกับทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ พบว่า นักเรียนมีความรู้แตกต่างกัน ทำให้จัดการเรียนการสอนค่อนยาก แนวทางแก้ไขปัญหา คือ ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง ปัญหาครูผู้สอนภาษาอังกฤษไม่มีวุฒิการศึกษาด้านการสอนภาษาอังกฤษ แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ส่งครูเข้าอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะภาษาอังกฤษของตน
This research was to study the instructional conditions, problems and solution provide recommendations by Thai teachers in elementary schools in Prathom Suksa 6, Lamphun Primary Educational Service Area 1. The target group included 42 Thai teachers teaching English in the elementary school in 2nd semester, 2015 academic year. The research instruments included a questionnaire and a group discussion form covering 5 instructional aspects, namely, contents, activity organization, instructional media, measurement and evaluation, and student care. The findings reveal that the instructional practice of the Thai teachers, in general, had the mean score at much level with the highest level on contents. Other aspects which were also at much level, in order from most to least, were the measurement and evaluation, instructional media, student and activity organization care. The teaching and learning management that Thai teacher found that appropriate and the most used for student is Project-Based Learning. Designed to suit the students’s learning and associated with living skills in the 21st century. The problems of English instruction found that English language skills of students are different, it effecting to manage the teaching difficult and solution is teachers provide suitable activities for each student, so all students participate in activities. Problem of teachers no have Degree in teaching English, the solution is to train teachers to develop their English skills and knowledge.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กรมวิชาการ. (2533). คู่มือการจัดการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษา. กรุงเทพฯ:
คุรุสภา.
กรมวิชาการ. (2545). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:
องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรมวิชาการ. (2546). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดทำหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเครือข่าย. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กาญจนา ศรีสังวาลย์. (2547). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ
ที่สอนโดยครูชาวต่างชาติของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม
เขตสาทร. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่. สาขาวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิพวัลย์ มาแสง. (2532). การสอนภาษาอังกฤษสำหรับคนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพย์อักษร.
ประภาพร นุชอำพันธ์. (2554). การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษ เรื่อง อาหารและสุขภาพ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิตรวัลย์ โกวิทวที. (2534). กิจกรรมเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโครงการ
เสริมสมรรถภาพครูประถมศึกษาครั้งที่1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิตรวัลย์ โกวิทวที. (2537). เอกสารประกอบการสอนวิชาการพัฒนากระบวนการเรียน
การสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
_________. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
อัจฉรา ศรีมูล. (2552). ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษของครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต2. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.