คุณลักษณะของครูที่ผู้เรียนประทับใจ: ต้นแบบของครูดี

Main Article Content

เรืองวิทย์ นนทภา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพของครูที่ผู้เรียนมีความประทับใจ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครูที่ผู้เรียนประทับใจ และ 3) เพื่อศึกษาศึกษาเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้เรียนประทับใจครู
เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในรายวิชาความเป็นครู (GDT601) ของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ปีการศึกษา 2557 ทำการเก็บข้อมูลจากนักศึกษาจำนวน 174 คนโดยใช้แบบสอบถามชนิดปลายเปิดให้นักศึกษาระลึกถึงคุณครู หรืออาจารย์ที่เคยสอนเพียง 1 คน ที่มี
ความประทับใจมากที่สุด ที่ยังระลึกถึงและยึดถือเป็นแบบอย่างของครูดี และเขียนบรรยายคุณลักษณะที่ประทับใจในด้านต่าง ๆ รวมทั้งบรรยายเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความประทับใจ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูที่ผู้เรียนมีความประทับใจกลุ่มใหญ่เป็นครูที่เคยสอนในระดับมัธยมศึกษา เป็นครูที่สอนในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ครูที่เคยสอนระดับประถมศึกษาอยู่ในความประทับใจของผู้เรียนบางคน นานมากกว่า 20 ปี จะเป็นครูที่สอนต่อเนื่องมาตั้งแต่ชั้นอนุบาลศึกษา  

2) คุณลักษณะที่ผู้เรียนประทับใจในทุกระดับชั้น มี 5 ด้านคือ คุณลักษณะส่วนตน การสอน วิชาการ จรรยาบรรณ และมนุษย์สัมพันธ์  3) เหตุการณ์ที่ทำให้ผู้เรียน มีความประทับใจ คือการช่วยเหลือลูกศิษย์
ที่มีปัญหา เป็นที่ปรึกษาได้ทุกเรื่อง มีโอกาสได้ทำกิจกรรมร่วมกับลูกศิษย์ ครูได้แสดงให้เห็นถึงความห่วงใย ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ จนประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมและโครงการ 

The objective of this research were to 1) study the status of teachers that students impressed
2) study the characteristics of the teacher that students impressed and 3) study the incidence that made student impressed teacher. It's a teaching and learning research which led to the management of the course 

GDT 601 (Actualization for Teachers) in Certificate of Teachers Profession curriculum of 2557 academic year at Far Eastern University. The total of 174 students were assigned to write the character and the situational activities of the most profound and impressive teacher.

                The research found that 1) the most of the impressive teachers were of secondary schools who taught in the fields of Science, Mathematics and English language. Teachers who had been taught in kindergartens through primary schools more than 20 years were among the profound and impressive teachers as well 2) the impressive characters described as personal characteristics, teaching performance, academic scholarship, ethics and human relations 3) the situational activities that led to students’ impression were brought by students’ advisers who inspired and encouraged students to fulfill students’ goals. 

Article Details

Section
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พนม พงษ์ไพบูลย์. (2539). การศึกษาคือยาหม้อใหญ่. กรุงเทพฯ : บริษัทเลิฟแอนด์ลิพ เพรส จำกัด

ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล. (2545). การศึกษาคุณลักษณะครูพึงประสงค์ของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา. ปีที่ 25 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2545

สุวัฒก์ นิยมค้า . (2552). แนวคิดในการสร้างบัณฑิตครูที่ดีมีศักยภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในอนาคต. เอกสารอัดสำเนาเย็บเล่ม.

อัลเบิร์ต-แบนดูรา. (2556). บุคคลสำคัญในองการจิตวิทยา/-albert-bandura. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2557. จาก http://www.wisitdevilsoul.wordpress.com/.