การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาในการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ที่ผ่านการตรวจประเมินโครงการตรวจประเมินมาตรฐานของสำนักทะเบียนและธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2555 จำนวน 7 ราย และจากผู้บริหารหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและมีส่วนได้ส่วนเสียกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำนวน 6 ราย โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยการนำมาวิเคราะห์ SWOT และทำการเปรียบเทียบผลจากการสัมภาษณ์กลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า จากการประเมินของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว 1) ด้านความพร้อมด้านแรงงานของบริษัทอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.02)พนักงานของบริษัทมีความรู้ความสามารถในการนำเที่ยวในภาคเหนือของไทยมีทักษะการทำงาน มีประสบการณ์หลายปี พนักงานของบริษัทได้นำเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้านมาแล้วจึงสามารถเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านได้ดี 2) ด้านความพร้อมทางด้านศักยภาพด้านภาษาของบริษัท อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.54) โดยจุดแข็งพนักงานของบริษัทสามารถสื่อสารภาษาที่ 3 ได้ การใช้ภาษาอังกฤษได้ดี พร้อมทั้งยังพัฒนาภาษาจีนได้อีก ในส่วนของระดับผู้บริหารสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี 3) ด้านความพร้อมด้าน
การแข่งขันของบริษัท อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.14) จุดแข็งบริษัทมีโปรแกรมทัวร์เสนอขายเป็นจำนวนมาก รวมถึงบริษัทมีพันธมิตรที่มีอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทบริหารงานเองจึงไม่ซับซ้อนและสามารถแก้ปัญหาได้เองอย่างรวดเร็ว จากการประเมินของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวพบว่ากลุ่มหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน 1) ด้านความพร้อมด้านแรงงานของบริษัทนำเที่ยว อยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.11)โดยจุดแข็งของบริษัทนำเที่ยวมีจิตบริการ 2) ด้านความพร้อมด้านศักยภาพทางด้านภาษาของบริษัท อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.47) โดยจุดแข็งมัคคุเทศก์ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีชัดเจน ผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยวพร้อมเรียนรู้เรื่องภาษาจีน 3) ด้านความพร้อมด้านการแข่งขันของบริษัท อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.71)โดยจุดแข็ง คือ มีผู้ประกอบการมาก ช่วยให้มีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้นักท่องเที่ยวมีทางเลือกมากขึ้น
จากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว มีแนวทางแก้ไขปัญหาในการเตรียมความพร้อมจากการปรับตัวและความร่วมมือ 1) ทางด้านการตลาด ควรมีการส่งเสริมด้านการตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน และให้ทางรัฐเข้ามาควบคุมเกี่ยวกับราคาและคุณภาพทางด้านการบริการและเพิ่มช่องทางการตลาดให้มากขึ้น 2) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ท่องเที่ยวของจังหวัด ควรอนุรักษ์วัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของเชียงใหม่ไว้ให้ได้มากที่สุด และมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและความปลอดภัย ให้บริการเป็นระดับสากล และควรมีแพ็คเก็จสำหรับกลุ่ม Niche ให้มากขึ้น 3) ด้านการลงทุน ควรมีงบประมาณในการส่งเสริมการพัฒนาให้เป็นมาตรฐาน และสถาบันการเงินหรือรัฐ ควรมีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีสภาพคล่องขึ้น โดยการหาแหล่งเงินทุนจากภาครัฐมาสนับสนุน 4 ) ด้านการประชาสัมพันธ์ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ในกลุ่ม AEC ให้มากขึ้น ควรมีการประชาสัมพันธ์สู่ระดับสากล โดยการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้หลากหลายและตัวสื่อโฆษณาที่มีทั้งภาษาอังกฤษและจีน มีการประชาสัมพันธ์ผ่านตัวแทนจากสมาคมที่มีอยู่ 5) การสร้างมาตรฐานการท่องเที่ยวอาเซียน มีการสอบและตรวจสอบมาตรฐานบริษัทนำเที่ยวและการวัดมาตรฐานมัคคุเทศก์ที่สำคัญต้องมองมาตรฐานสากลโลกเป็นหลัก
The research aims to study the Strength, Weaknesses, Opportunities and Threats (SWOT) along with solutions found in a preparation of tourism entrepreneurs in Chiang Mai Province for entering into ASEAN Economic Community. The data was collected from seven Travel Agencies in Muang Chiang Mai District who had passed the evaluation on the standard of the Travel Agency Inspection Project by the Bureau of Tourism Business and Guide Registration, Northern Office in 2012, and from the executives in six organizations including government and private sectors that were involved in tourism and affected from entering into ASEAN Economic Community. There used the purposive sampling method and in-depth interview with the structural interview pattern. The SWOT analysis was undertaken to compare the results from the group interview. The study on the readiness of the travel agencies for ASEAN Economic Community by SWOT analysis found that from the evaluation of the travel agencies, it showed: Firstly, the readiness of the company workforce was in a good level (the average score was 4.02). The company staff had the expertise in guiding tour in the north of Thailand, many years of experience, and understanding in the culture of the neighboring countries resulted from their experience in guiding tour in those countries. Secondly, the readiness level of the company staff’s language potential was good (the average score was 3.54). The strong points were that staff were able to communicate in the other languages. Not only did they speak their own mother tongue, but they also spoke good English and had developed their skill in Chinese. And the executives could communicate in English well. Finally, the readiness level of the company competition potential was moderate (the average score was 3.14). The strengths were that they had many tour programs, cooperative partners inside and outside the country, and ran business by themselves which supported the simplicity and the ability to quickly solve problems.
The evaluation of the government and private sectors found that: Firstly, the readiness level of the workforce was moderate (the average score was 3.11). The strength of the tour company was a willingness to serve. Secondly, the readiness level of the company staff’s language potential was moderate (the average score was 3.47). It had the strong points of having the tour guides who could communicate in English clearly, and the entrepreneurs who were ready to learn Chinese. And finally, the readiness level of the company competition potential was moderate (the average score was 2.71). It had the strengths of having many Travel Agencies, causing more various types of products and more choices for tourists to choose.
The research found that the travel agencies had the solutions for the preparation on the adaptation and cooperation which included 1) Marketing Factor; there should be the marketing promotion strategy in neighbouring countries. The government should control the price and quality of service and provide more marketing channels. 2) The Product Development and Tourism Experience of the Province; we should preserve authentic Chiang Mai culture and significant attractions and occasionally audit the tourism products to meet the standard and safety. The services should be improved to meet international standard and there should be more packages for the Niche Market Group. 3) Investment Factor; The government should provide budgets to support the development to meet the standard, and should look for the investment partners or joint ventures in neighbouring countries. 4) Public Relations Factor; To do more marketing, provide a channel to propose Thai tourism to AEC markets and increase advertisements in AEC countries were also needed. The government and private sectors suggested that there should be Public Relations internationally by increasing more channels on advertisements and the media should be in both English and Chinese languages for the advantage in AEC countries. There should also be Public Relations through the representatives of the existing associations or organizations. Besides, there should be more advertisements via social media. 5) The ASEAN Tourism Standards; there should be the audition/inspection on the standard of the Tour Companies and Tourist Guides and which significantly focused on the world standards.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
ครรชิต พุทธโกษา. (2554). กรอบประเด็นการวิจัยของประเทศไทยให้พร้อมรับสถานการณ์การ
รวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Thai – AEC.Com. (2555). ประชาคมอาเซียนหนึ่งเดียวกับปัญหาไม่ง่ายนักสำหรับประเทศไทย.
สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2557, จาก http://www.thai-aec.com.