การขยายช่องทางการตลาดออนไลน์สินค้าหัตถกรรมชุมชน ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่โดยใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับขยายช่องทางการตลาดออนไลน์สินค้าหัตถกรรมชุมชน ตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบบผสมผสาน ด้านงานวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้
การสัมภาษณ์เชิงลึก รูปแบบกึ่งมีโครงสร้าง เลือกประชากรในการสัมภาษณ์แบบเจาะจง ประกอบด้วยเจ้าของกิจการที่จำหน่ายสินค้าหัตถกรรมชุมชน ตำบลมะขุนหวาน จำนวน 2 ราย ประเด็นสัมภาษณ์ได้แก่ การจัดจำหน่ายสินค้ารูปแบบเดิม ประสบการณ์ในการจัดส่งสินค้า ความเป็นไปได้ของการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ และความต้องการระบบออนไลน์ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรมโอเพนซอร์ส จูมล่าลายไทย และประเมินผลการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้แบบสอบถามกับผู้เชี่ยวชาญ เจ้าของกิจการ และผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 20 คน
ผลการสัมภาษณ์พบว่า การจัดจำหน่ายสินค้าแบบเดิมคือ เข้ามาสั่งซื้อจากร้านค้าภายในชุนชน หรือในกรณีที่เคยติดต่อกันใช้วิธีสั่งซื้อทางโทรศัพท์ เจ้าของกิจการทำการจัดส่งสินค้าผ่านทางไปรษณีย์
ในส่วนของการจัดทำร้านค้าออนไลน์มีความเป็นไปได้ เนื่องจากเจ้าของกิจการและบุตรหลานสามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารได้ ความต้องการในด้านการพัฒนาระบบประกอบด้วย การนำเสนอสินค้า วิธีการสั่งซื้อ วิธีการจัดส่งสินค้าที่ชัดเจน ด้านการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย เว็บไซต์หลักในการแนะนำร้านค้าและเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าที่พัฒนาจากซอฟต์แวร์ CMS (Content Management System) โดยใช้ภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย การนำเสนอสินค้า การขายสินค้าผ่านทางร้านค้าออนไลน์ ส่วนของผู้ดูแลระบบ ประกอบด้วย
ระบบการจัดการร้านค้าและสินค้า การประเมินผลการใช้งานระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สรุปผลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้เกณฑ์ของการแปลความหมายแบบการใช้ขอบเขตที่แท้จริง (Exact Limits) จากผู้ใช้งาน 3 กลุ่มได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าของกิจการ และผู้ใช้งานทั่วไป พบว่า ผลการประเมินด้านเนื้อหา
ของเว็บไซต์เท่ากับ 4.40 จัดอยู่ในระดับดี ผลการประเมินด้านการออกแบบเว็บไซต์ เท่ากับ 4.26 จัดอยู่
ในระดับดี ผลการประเมินด้านกระบวนการทำงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เท่ากับ 4.40 จัดอยู่ในระดับดี
The objective of this research is development e-commerce system for expanding online market channel for handicrafts product of Makhunwhan Sub-District, Sanpatong District, Chiang Mai Province. The research and development process using mixed methods. The qualitative research data was collected using in-depth interviews, semi-structured format. To choose population is purposive type interviews include two owner of handicrafts shop in the Makhunwhan district. Issues interviews are sales style of traditional products , experienced delivery, the possibility of distribution online and needs online. Then the data acquired with application development, electronic commerce using open source Joomla Laithai and evaluate the use of electronic commerce by questionnaire with stakeholders 20 people.
The result of interviews found that in the past, customer was to purchase from a store within the community or order by phone whenever been dealing. The owners will delivery by Thai post office. The online store development is possibility because the owners and their children can use the Internet to communicate. System requirements include presented products, how to buy, how to deliver clear. The electronic commerce system development consists of website to recommended shops and product sales website developed by CMS software, using PHP and database MySQL. E-commerce websites include product presentation, online store. The administrator part contains stores management system and products. The result of evaluated the use electronic commerce system using the arithmetic mean using the Exact Limits criteria to interpret. Results of the evaluation by three groups of users are experts, owner and user found evaluation of the content is 4.40 is a good level, evaluation of site design 4.26 is a good level and evaluation of process of the electronic commerce is 4.40 is a good level.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2556). DBD New Wave
e-Commerce. ต้นสายปลายธุรกิจ. 4 (20) , 4.
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(E-Commerce). กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
ปริศนา เพชระบูรณิน. (2556). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับสังคมไทย.
วารสารวิชาการปทุมวัน. 3 (7), 43-44.
ปิติพงษ์ วารีรัตน์. (2555).รวยชัวร์!!!ด้วยร้านค้าออนไลน์.นนทบุรี:
ธิงค์บียอนด์บุ๊คส์.
สุพิชฌาย์ ศรีประสิทธิ์. (2555). ผมใช้ Joomla!หาเงินและทำการตลาด
ออนไลน์ได้ยังไง.กรุงเทพฯ:วิตตี้ กรุ๊ป.
อัญชลี บุญอ่อน. (2553). การพัฒนาต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับบริษัทโอซีซี จำกัด(มหาชน). วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อาอุนไทยแลบบอราทอรี่ส์. (มปป). SEM (Search Engine Marketing).
เมษายน 2559 , จาก http://seo-web.aun
thai.co.th/what_is_sem.