สถานการณ์การเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นในสถาบันอุดมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคเหนือ

Main Article Content

อิซาโอะ ยามากิ

Abstract

                ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีที่มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในภาคอุตสาหกรรม แต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ในประเทศที่โรงงานอุตสาหกรรมไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการสินค้าได้ จึงจำเป็นต้องมีการขยายฐานการผลิตไปสู่ประเทศอื่น ๆ ที่มีค่าแรงต่ำกว่าเช่นประเทศไทยและจากการลงทุนเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยส่งผลให้มีการสนับสนุนจากรัฐบาลในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านพื้นที่โดยการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ด้านกำลังคนโดยการสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในสถาบันการศึกษา ด้านการลงทุนโดยหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ ฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการเตรียมบุคลากรให้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยการเปิดสอนสาขาภาษาญี่ปุ่นในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย  ปัจจุบันนักศึกษาที่เข้าเรียนสาขาภาษาญี่ปุ่นในระดับอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย อันเนื่องมาจากหลากหลายสาเหตุ  เช่น การปิดหลักสูตร  ความขาดแคลนบุคลากรทางด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ  ความไม่เป็นกระแสนิยมของนักเรียนในการเลือกเรียนสาขาภาษาญี่ปุ่น ความยากในการสอบวัดระดับภาษาสำหรับการเข้าทำงานในสถานประกอบการที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาหลัก หรือแม้กระทั่งความแตกต่างในวัฒนธรรมไทยและญี่ปุ่น ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน จึงเป็นสาเหตุให้นักเรียนเลือกเรียนภาษาอื่น ๆ แทน  ทั้ง ๆ ที่มีปริมาณความต้องการทางด้านแรงงานเป็นจำนวนมาก

                ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อความต้องการของผู้เรียนและผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำการศึกษาเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีนักเรียนเลือกเข้าเรียนในสาขาภาษาญี่ปุ่นเพื่อเป็นแรงงานที่มีศักยภาพในตลาดแรงงานต่อไป

                Japan, the leader in technology, needs to expand their industrial sector to provide their products to markets, but the limitation of their land, the off shore plants need to provide to support the market needs which Thailand is one of the suitable country for doing investment as the production base plant with lower wages comparing to than Japan. With this reason, there are many Japanese industrials established in Thailand. Thai government also supports the infrastructures and policy to support the investment including promote Japanese Language as a free elective units for student in primary schools for continuing their further study in high school and degrees.

                The number of students in Northern of Thailand is decreasing in now a day reversing to the needs of industrial sectors which effected from many factors such as the closed course, the lack of capability Japanese teacher and staff, it is not the trend for choosing Japanese as Major unit, and also the difficulties on taking the Japanese Language Proficiency Test (JLPT) for the working level. Even though the culture shock between Thai culture and Japanese culture that cause to misunderstand to their work and relationship in the organization.   This problem needs to get the cooperated to find the solutions. These reasons may cause to high school students choose other language as their major than Japanese. Thus, the suitable curriculum that support their need both employer and employee may promote the number of students to choose Japanese as their major in undergraduate level.  

Article Details

Section
Academic Articles

References

ณัฏฐ์ เดชะปัญญา. (2013). อัตลักษณ์ของศิลปินไทยกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2559, จาก http://stoucaphd5.blogspot.com/2013/10/blog-post_30.html

ธิติสรณ์ แสงอุไร. (2556). ความพึงพอใจของบัณฑิตต่อการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นด้านการฟังและการพูดกับความสอดคล้องกับความต้องการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2559, จาก http://www.arts.chula.ac.th/~east/japanese/files/graduate/Shuuron_141219_Thitisorn.pdf.

นีรนุช ดำรงชัย. (มปป.). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณสมบัติของผู้จบการศึกษาด้านญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2559, จาก

http://rc.nida.ac.th/th/attachments/article/137/Expectation%20and%20Satisfaction.pdf

ยุพกา ฟูกุชิม่า, กนกพร นุ่มทองและสร้อยสุดา ณ ระนอง. (2013). ความนิยมในการเรียนภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีนของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : แรงจูงใจแตกต่างกันอย่างไร สภาพสถานการณ์การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2559, จาก http://www.asia.tu.ac.th /journal/J_Studies30_1/27-40.pdf

ศูนย์เครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาระดับอุดมศึกษาภาคเหนือ (ศคญ (น)). (2016). จำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทรที่เรียนสาขาภาษาญี่ปุ่นในเขตภาคเหนือในปี 2009, 2012-2015. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2559, จาก http://northconsortiumjp.blogspot.com/p/blog-page_40.html

ศูนย์เครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาระดับอุดมศึกษาภาคเหนือ (ศคญ (น)). (2016). จำนวนนักศึกษาในแต่ละสถาบันที่เปิดสอนสาขาภาษาญี่ปุ่นในเขตภาคเหนือ. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2559, จาก http://northconsortiumjp.blogspot.com/p/blog-page_40.html

ศูนย์เครือข่ายภาษาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นศึกษาระดับอุดมศึกษาภาคเหนือ (ศคญ (น)). (2016). จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนสาขาญี่ปุ่นในเขตภาคเหนือในปี 2009-2015. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2559, จาก http://northconsortiumjp.blogspot.com/p/blog-page_40.html

หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ ฯ. (2016). สถิติสมาชิก (2004-2016). สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2559, จาก

http://www.jcc.or.th/th/about/index3.

IKEDA Takashi. (2006). การสำรวจความต้องการด้านภาษาญี่ปุ่นในตลาดองค์กรธุรกิจญี่ปุ่น

(อุตสาหกรรมการผลิต). สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2559, จาก http://www.jfbkk.or.th/pdf/JL/2006/kiyou2006/24IKEDA.pdf

Millennium Golden Link. (2014). พื้นฐานของเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2559, จาก http://mglthai.com/พื้นฐานเศรษฐกิจประเทศญ/

NJLPT Center. (2015). JLPT : จำนวนผู้เข้าสอบและผู้ที่สอบผ่าน. สืบค้น 10 เมษายน 2559, จาก

https://njlptcenter.wordpress.com/2015/01/04/jlpt-%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99/

Pasuk, P. “The State of Japanese Studies on Social Science in Thailand”. Institute of Social Science, University of Tokyo. Retrieve 10 April 2016, from

http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~ppasuk/japanesestudiesinthailand.pdf.