การวิเคราะห์บทความเซนเพื่อการนำไปใช้ในการพัฒนาความเป็นครู
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในรายวิชาความเป็นครู มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความเป็นครูของนักศึกษาที่เรียนรายวิชาความเป็นครู จำนวน 174 คน โดยกำหนดให้นักศึกษาวิเคราะห์บทความคำสอนเซน สัปดาห์ละ 1 เรื่อง เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ประเด็นสำคัญคือให้นักศึกษาเสนอความรู้และแง่คิดจากบทความที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ครูและการพัฒนาตนเอง และยังกำหนดให้นักศึกษาเลือกอ่านบทวิเคราะห์ของเพื่อน 1 คน เพื่อเสนอความคิดต่อบทวิเคราะห์นั้น
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาประมาณร้อยละ 80 มีความเข้าใจในสาระสำคัญของบทความเซน และสามารถนำไปสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของครูได้ในระดับดีมากและระดับดี นักศึกษามีความคิดเห็นว่าได้รับประโยชน์จากการวิเคราะห์บทความที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ได้แนวคิดเกี่ยวกับการดำรงตนในชีวิตประจำวันเพื่อการอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดหลากหลายและช่วยพัฒนาความคิดเชิงเหตุผล นักศึกษาได้นำความรู้และข้อคิดจากการวิเคราะห์บทความไปใช้บ่อยครั้งในการปฏิบัติหน้าที่ครู โดยเฉพาะความรู้สึกเป็นสุขเสมอเมื่อทำความดี แม้จะเป็นความดีเล็กน้อย และสนุกกับการทำหน้าที่ครู
The purposes of this research were to develop the strategies for learning of GDT 601: Self- Actualization for Teachers and to follow students’ skills on learning. The target group were 174 students who enrolled for the course GDT 601, were assigned to analyze Zen’s articles one topic per week for 7 weeks. Students reflected their feedback toward the given articles and shared with their classmates.
The research found that 80 percentage of students perceived the essentials of Zen’ concepts which linked to the actualization of teaching profession. The Zen’s concepts were well applied to their teaching and daily livings at the remarkable level. The approach of this research methodology stimulated the rational intuitive thinking of the participating students. Students reported their happiness of being done good conducts in their daily lives and satisfied with teaching professions.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.