การพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

พนมพร จันทรปัญญา
วลัยพร เตชะสรพัศ

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา  คือ นักศึกษาในรายวิชา AED710: ทฤษฎี กระบวนทัศน์ และกระบวนการบริหารการศึกษา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 19 คน  เครื่องมือใช้ในการวิจัยได้แก่
แผนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบสังเกตทักษะการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า  นักศึกษามีทักษะในการทำงานเป็นทีมและเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในการวางแผน มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ  และเข้าใจถึงบทบาทของผู้บริหารในการบริหารองค์กรภายใน นับตั้งแต่การลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของงาน   การบริหารเวลา  การประชุม
การประสานงาน  การตัดสินใจ  รวมถึงการมีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอก อีกทั้งมีข้อเสนอแนะว่า
ในสถานการณ์จำลองควรเป็นเรื่องที่ทันสมัยและมีความหลากหลายและควรเพิ่มเวลาในการฝึกปฏิบัติ
ให้มากกว่าที่กำหนด  เพื่อจะได้ฝึกปฏิบัติและมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น  นอกจากนี้นักศึกษา
ยังมีความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในด้านเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม

ในการเรียน   ด้านภาระงานของผู้เรียน และด้านรูปแบบการเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

ส่วนด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ผู้สอน ด้านประโยชน์จากการเรียน และด้านทัศนคติ
ในภาพรวมอยู่ระดับมาก

            The objectives of this research were to 1) study learning skills of the students in the Master of Education Program in Educational Administration by Using Problem-Based Learning; 2) study the opinion of students about Problem-based learning (PBL) pedagogy. The population of this research was 19 students from an AED710 class.  The instruments used were lesson plans by use Problem-based learning, learning skills observation form and

Questionnaires composed of multiple-choice and open-ended questions.  Data were analyzed by content analysis and statistical analyzing using standard deviation and average. 

            The findings reveal that students have teamwork skill, learning to work with others, planning skill, analytical thinking skill. Students know how to prioritize tasks, how to manage time wisely, how to organize and arrange meeting and know when to make decision as well as participation with other organizations. Students suggested that the simulation should be modernized, varies and should provide more time to practice in order to fully knowledge and understanding. The opinion of students on the problem-based learning in the interaction between learners and teachers, benefits of learning and attitude, in general, had mean score at much. Other aspects which were also at moderate level, in order from the time spent on the activity, the workload of learners, learning styles.

Article Details

Section
Research Articles