การจัดการการเรียนรวมของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

อรทัย แสนชัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาการดำเนินงานการจัดการเรียนรวม ของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการหรือหัวหน้าวิชาการ ครูผู้สอน และครูการศึกษาพิเศษ โรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม
จังหวัดนนทบุรี จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงาน
ตามมาตรฐานการเรียนรวม ของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จังหวัดนนทบุรี เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานการจัดการเรียนรวมของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จังหวัดนนทบุรี โดยรวมผู้ตอบแบบสอบถาม
มีความเห็นว่า โรงเรียนมีการดำเนินงานครบถ้วน ซึ่งในการดำเนินงานนั้น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการดำเนินงานมาก 3 ด้าน คือ การบริหารจัดการงบประมาณ มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน และมาตรฐานด้านการบริหารจัดการเรียนรวม และมีการดำเนินงานใน

ระดับปานกลาง 6 ด้าน คือ การจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวม  การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา  การกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการเรียนรวม  มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  มาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอน  และการดำเนินงานของศูนย์บริการทางการศึกษาพิเศษ (Student Support Services: SSS) ซึ่งจากการสัมภาษณ์ พบว่า โรงเรียนมีการดำเนินงานการจัดการเรียนรวมแต่ยังไม่สมบูรณ์ ปัญหาที่พบ ได้แก่ ขาดการประสานงานกับเครือข่ายหรือหน่วยงานอื่น ๆ นอกกระทรวงศึกษาธิการ  ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำการประกันคุณภาพภายในให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ และขาดการจัดตั้งศูนย์บริการทางการศึกษาพิเศษ 

This research aimed to investigate the inclusive learning management  performance of the inclusive learning schools in Nonthaburi Province.  The sample used in this study included directors, deputy directors, academic affairs administration groups or heads of academic affairs, teachers and special education teachers from the inclusive learning schools in Nonthaburi Province numbering 196 people.  The tools used in this research were questionnaires about the inclusive learning schools management performance of the inclusive learning schools in Nonthaburi Province in form of 3-rating scale.  The data were analyzed through frequency, percentage, mean and standard deviation.  The non- structure interview form were analyzed through content analysis.  The findings were as follows: according to the inclusive learning management performance of the inclusive learning schools in Nonthaburi Province, the overall respondents agreed that the performance was at moderate level. When considering each aspect, it revealed that there were 3 aspects with high-level performance, such as budget management, learner’s quality standard and inclusive learning management standard and there were 6 aspects with moderate-level performance, namely preparation for the inclusive learning management quality development project, school internal quality assurance, inclusive learning management structure design, learning society creation standard, learning and teaching management standard and Student Support Services (SSS) performance. Anyway, the results of interviews showed that the schools performed the duty inclusive learning management but it was not complete.  The problems found were that lack of coordination with other networks or agencies outside Ministry of Education, the teachers still lacked knowledge and understanding about internal quality assurance preparation for children with special need and lack of Student Support Services (SSS) establishment.

Article Details

Section
Research Articles